แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พินอิน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พินอิน แสดงบทความทั้งหมด

7/01/2556

กฎการเขียนสัทอักษรภาษาจีน 拼写规则

กฎการเขียนสัทอักษรภาษาจีน 拼写规则


1. i, u,และ ü 自成音节i,
    u,และ ü สามารถประกอบขึ้นเป็นพยางค์ได้ด้วยตัวเอง
    
i, u,และ ü เป็นสระที่ประกอบขึ้นเป็นพยางค์ได้โดยไม่ต้องมีเสียงพยัญชนะต้น
    เมื่อ i, u,และ ü ประกอบขึ้นเป็นพยางค์ด้วยตัวเอง จะเขียนเป็น yi, wu, และ yu




2. 以 “i” 开头的韵母 เสียงสระประสมที่ขึ้นต้นด้วย  “ i ” 
   หากด้านหน้าเสียงสระประสมที่ขึ้นต้นด้วย “ i ” ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น

  ให้เปลี่ยน “ i ” เป็น “y”  หรือเติม “y” ไว้ข้างหน้าดังตัวอย่างด้านล่าง

 



 
3.以 “u” 开头的韵母 เสียงสระประสมที่ขึ้นต้นด้วย “u
  หากด้านหน้าเสียงสระประสมที่ขึ้นต้นด้วย “u”  ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ให้เปลี่ยน “u”  เป็น “w”
 
4. 以 “ü” 开头的韵母 เสียงสระประสมที่ขึ้นต้นด้วย “ü
    หากด้านหน้าเสียงสระประสมที่ขึ้นต้นด้วย “ü” ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ให้เติม “y” ข้างหน้า “ü”
    และตัดจุดสองจุดด้านบน “u” ออก
 

5. “ü” 在 j,q, x, y 后面写成 u  เมื่อ ü อยู่หลัง j q x และ yให้เขียนเป็น u
    เมื่อ “j”, “q” “x” และ “y” สะกดร่วมกับ “ü” หรือเสียงสระประสมอื่นที่ขึ้นต้นด้วย “ü”
    ให้ตัดจุดสองจุดข้างบน “u” ออก

 
 
 
6. iou uei uen 的拼写规则 กฎการเขียนสระประสม iou, uei และ uen
    เมื่อ “iou” “uei” และ “uen” สะกดร่วมกับเสียงพยัญชนะต้น ให้เขียนเป็น “iu” “ui” และ “un”
    ดังตัวอย่างด้านล่าง
 
 
 
 
7. 隔音符号 (’ ) เครื่องหมายคั่นเสียง ( ’)
    เมื่อพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วย a o และ e อยู่ต้อท้ายพยางค์อื่น และตัวอักษรแสดงเสียงของพยางค์ทั้งสอง
    ที่อยู่ติดกันทำให้เกิดความสับสนในการอ่าน ให้ใช้เครื่องหมายคั่นเสียง (’ ) คั้นระหว่างพยางค์ทั้งสอง
    ดังตัวอย่างด้านล่าง
   
    jī è =  jiè      pí ăp =   piăo       可爱 =  kě ài
 
8. 字母的大写 กฎการเขียนตัวพิมพ์ใหญ่
    โดยทั่วไปการเขียนสัทอักษรภาษาจีนจะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก แต่หากเป็นตัวอักษรตัวแรกของ
    ประโยค ตัวอักษรตัวแรกของชื่อ นามสกุล และชื่อเฉพาะต่างๆ จะต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
    เช่น
    Nín guìxìng?    Zhōngguó     Běiijīng     Qīngmài
 


 
 
ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]
 


การกลายเสียงวรรณยุกต์ 变调

การกลายเสียงวรรณยุกต์ 变调



การกลายเสียงวรรณยุกต์เสียงสาม
1. เมื่อพยางค์เสียงสามอยู่ติดกันสองพยางค์ จะต้องเปลี่ยนการออกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์หน้า
    เป็นเสียงสอง เช่น

   你好 (Nĭ hăo หนี่ห่าว) ต้องเปลี่ยนการออกเสียงเป็น Ní hăo หนีห่าว
   很好 (Hěn hăo เหิ่นห่าว) ต้องเปลี่ยนการออกเสียงเป็น Hén hăo เหินห่าว เป็นต้น

2. เมื่อพยางค์เสียงสามอยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสี่ และเสียงเบา
   จะต้องออกเสียง  วรรณยุกต์ของพยางค์หน้าเพียงครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ จะกดเสียงลงต่ำ
   โดยไม่ยกระดับเสียงขึ้นในช่วงท้ายพยางค์ การออกเสียงลักษณะนี้ เรียกว่า
   “การออกเสียงสามครึ่งเสียง”ตัวอย่างเช่น คำว่า
  老师  lăoshī
  很难 hěn nán
  很大 hěn dà
  我们 wǒmen

3. สำหรับเครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์ยังคงรูปวรรณยุกต์เสียงสาม “˅”ตามเดิม




 

การกลายเสียงของคำว่า “一”(yī  อี = หนึ่ง)
  
เดิมที “一”เป็นคำที่มีวรรณยุกต์เสียงหนึ่ง

1. เมื่อต้องการอ่านคำว่า “一”ที่ปรากฏโดยลำพัง หรือนับจำนวน “หนึ่ง” หรืออ่านตัวเลข “หนึ่ง”
    ให้ออกเสียงว่า “ yī (อี)” ตามเดิม

2. หากคำว่า “一”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงสี่ ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสอง
    อ่านออกเสียงว่า “ yí (อี๋)”
   เช่น 一定 yī dìng  ให้อ่านออกเสียงเป็น yí dìng (อี๋ติ้ง)

3. หาก “一”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสอง หรือเสียงสาม
   ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสี่ อ่านออกเสียงเป็น “ yì (อี้) ”
   ตัวอย่าง
   เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง  一天  yī tiān ให้ออกเสียงเป็น yì tiān (อี้เทียน)
   เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงสอง  一年  yī nián อี้เหนียน ให้ออกเสียงเป็น yì nián (อี้เหนียน)
   เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงสาม  一起  yī qĭ  ให้ออกเสียงเป็น yì qĭ  (อี้ฉี่)


การกลายเสียงของคำว่า “不”(  ปุ้ = ไม่)

“不” เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสองและเสียงสาม ให้ออกเสียงคงเดิม เช่น
  不高 bù gāo 
  不忙 bù máng
  不好 bù hăo

  แต่เมื่อคำว่า “不”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงสี่ ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสอง
  อ่านว่า  “bú เช่น
 
  不客气  bù kè qi  (ปู้เค่อชี่) ให้ออกเสียงเป็น 不bú kè qi (ปู๋เค่อชี่)


การออกเสียงพยางค์ที่ผสานเสียงกับสระ “er” ท้ายพยางค์ 儿化韵
เมื่อปรากฏสระเสียงพิเศษ “er” อยู่ด้านหลังสระอื่น และเกิดการผสานเสียงเข้ากับเสียงพยัญชนะของพยางค์ด้านหน้ากลายเป็นพยางค์เดียวกัน ลักษณะการออกเสียงแบบนี้เรียกว่า “儿化 (èr huà)”
การออกเสียง 二化 จะต้องงอลิ้นขึ้นตรงท้ายพยางค์ ส่วนการเขียนสัทอักษร (เสียงอ่าน) เพื่อแสดงเสียงดังกล่าว จะต้องเพิ่ม “r” ตรงท้ายพยางค์เดิม และหากต้องการเขียนคำที่มีลักษณะการออกเสียงเช่นนี้ด้วยตัวอักษรจีน จะต้องเขียนตัว “儿” เพิ่มไว้ด้านหลัง
เช่น

    nă  + èr = năr    哪  +  儿   = 哪儿
    zhè  + èr = zhèr    这 + 儿 = 这儿

















ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]

วรรณยุกต์ 声调

วรรณยุกต์ 声调



1. เสียงวรรณยุกต์ 声调
เสียงวรรณยุกต์ คือการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงสูงต่ำในการออกเสียง
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลางมีทั้งหมด 4 เสียง ได้แก่

เสียงหนึ่ง “ ”  阴平 คล้ายกับเสียงสามัญในภาษาไทย แต่ออกเสียงสูงกว่าและลากเสียงยาวกว่าเล็กน้อย
เสียงสอง “ ̸ ”  阳平 คล้ายกับเสียงจัตวาในภาษาไทย แต่จะลากเสียงขึ้นสูงกว่าเล็กน้อย
เสียงสาม “ ˅ ” 上声 เป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ต้องกดเสียงลงต่ำก่อน แล้วจึงลากเสียงให้สูงขึ้นตอนหลัง ในช่วงที่กดเสียงลงต่ำ จะออกเสียงใกล้เคียงกับ เสียงเอก ในภาษาไทย
เสียงสี่ “ \ ” 去声 คล้ายกับเสียงโทในภาษาไทย แต่จะออกเสียงสั้น และจบเสียงเร็วกว่า


เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่นี้ จะวางไว้บนเสียงสระหลักของพยางค์
พยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน จะแสดงถึงความหมายที่ต่างกันไปด้วย เช่น

mā 妈  ออกเสียง “มา”  แปลว่า แม่
má 麻 ออกเสียง “ม๋า” แปลว่า ปอ, ป่าน
mă 马 ออกเสียง “หม่า” แปลว่า ม้า
mà 骂 ออกเสียง “ม่า”  แปลว่า ด่า


2. เสียงเบา 轻声
เสียงเบา หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาต่อจากพยางค์ก่อนหน้านั้นอย่างกระชั้นชิด มีลักษณะการออกเสียงสั้นและเบากว่าเสียงทั่วไป เสียงเบาที่อยู่หลังวรรณยุกต์เสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสาม จะออกเสียงต่ำต่อเนื่องจากเสียงวรรณยุกต์ก่อนหน้า  ส่วนเสียงเบาที่อยู่หลังวรรณยุกต์เสียงสาม จะออกเสียงสูงขึ้นจากระดับเสียงของพยางค์หน้าเล็กน้อย เช่น


妈妈 māma มาหม่ะ  แม่
爷爷 yéye   เย๋เย      ปู่
奶奶 năinai ไหน่ไน  ย่า
爸爸 bàba  ป้าปะ     พ่อ






ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]

6/30/2556

语音 การออกเสียงภาษาจีน

语音 การออกเสียงภาษาจีน



音节 พยางค์
พยางค์ในภาษาจีนประกอบขึ้นจากส่วนประกอบสามส่วน ได้แก่

เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ เช่น
                  你 Nĭ 
                  N คือเสียงพยัญชนะต้น
                  i คือเสียงสระ และ 
                  ˅ คือเสียง วรรณยุกต์



声母 เสียงพยัญชนะต้น
เสียงพยัญชนะต้นในภาษาจีนมีทั้งหมด 21 เสียง สามารถแบ่งตามตำแหน่งการออกเสียงได้

เป็น 6 กลุ่มดังนี้




韵母 เสียงสระ
เสียงสระในภาษาจีนมีทั้งหมด 38 เสียง แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
สระเสียงเดี่ยว สระประสมสองเสียง  สระประสมสามเสียง  สระเสียงนาสิกและสระเสียงพิเศษ

ทั้งนี้ระบบเสียงภาษาจีนได้รวมเอาเสียงพยัญชนะท้าย (เสียงสะกด) ไว้ในเสียงสระ เช่น
เสียง n ซึ่งสามารถเทียบได้กับเสียง สะกดแม่กน และ ng  เทียบได้กับเสียงสะกดแม่กง ในภาษาไทย

1. สระเสียงเดี่ยว 单韵母 ได้แก่ 
 

2. สระประสมสองเสียง 复韵母  ได้แก่


3. สระประสมสามเสียง 三重韵母 ได้แก่


4. สระเสียงนาสิก 鼻韵母 ได้แก่

5.สระเสียงพิเศษ 特殊韵母    ได้แก่  er  (เออร์)




ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]

2/25/2555

กฏระเบียบในการใช้พินอิน Pinyin 拼音规则

 
กฏระเบียบในการใช้พินอิน Pinyin 拼音规则

1.    กรณีพยางค์เสียงวรรณยุกต์ที่ 3 สองพยางค์ติดกัน ต้องผันเสียงของพยางค์แรกให้เป็น
       พยางค์เสียงวรรณยุกต์ที่ 2                           
       两个第三声音节相连时,第一个音节需变为第二声。例如:    
       ตัวอย่างเช่น
       xiăo mă ---> xiáo mă (小马)
       Jĭ diăn ----> jí diăn (几点)

2.    กรณี uei ประสมกับพยัญชนะ ให้ละ e ไป คือ uei --->  ui             
       uei  与声母相拼时,省去 e,即   uei --->  ui  例如:                
       ตัวอย่างเช่น sh + uei + ˇ ---> shuĭ (水)

3.    กรณีสระ ü หรือสระผสมที่ขึ้นต้นด้วย ü ประสมเสียงกับพยัญชนะ j q x y
       ให้ละสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü
       ü 或以 ü 打头的复合韵母与声母 j q x y 相拼时, 须去掉 ü 上的两点
       ตัวอย่างเช่น j + ü --->  ju

4.    พยางค์ที่ไม่มีเครื่องหมายเสียงวรรณยุกต์นั้นเป็นพยางค์เสียงเบา จะออกเสียงสั้นและ
       เบากว่าพยางค์ปกติ
       没有加声调符号的音节为轻声,其发音比正常音节短而轻,例如:
       ตัวอย่างเช่น  我们 (wŏ men)     他们 (tā men)   

5.    กรณีพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ  a o หรือ e ตามหลังอีกพยางค์หนึ่งต้องใช้เครื่องหมายคั่นเสียง “  ̓ ”
       อยู่ระหว่าง 2 พยางค์
       以 a o  或 e 开头的音节连接在其他音节后面的时候,用隔音符号 ( ’)隔开。例如:
       ตัวอย่างเช่น
       我爱妈妈 (Wŏ ’  ài mā ma)
       十二  (shí ’èr)

6.    不 (bù) ออกเสียงวรรณยุกต์ที่ 4 แต่ในกรณีมีพยางค์เสียงวรรณยุกต์ที่ 4 ตามหลัง 不 ต้องผันเป็น
       พยางค์เสียงวรรณยุกต์ที่ 2 อย่าง
        “不(bù)” 的省调为第四声,但是另一个第四声音节跟随其后时,
       “不”须变为第二声。    例如:
        ตัวอย่างเช่น
        bù  dà ---> bú  dà (不大)
        bù  qù --->  bú  qù (不去)

 

 7.    กรณี uen ประสมกับพยัญชนะ ให้ละ e ไป คือ uen --->  un
        uen  与声母相拼时,省去 e, 即 uen --->  un. 例如:
        เช่น  h + uen + ‐ --->  hūn

3/31/2553

สระในพินอิน

1.    สระเสียงเดี่ยว จำนวน 9 ตัว ได้แก่
a    ออกเสียง    อา
o    ออกเสียง    ออ
e    ออกเสียง    เออ
ê    ออกเสียง    เอ
(z-r) i ออกเสียง อือ
er  ออกเสียง   เออร์
i    ออกเสียง    อี
u   ออกเสียง    อู
ü   ออกเสียง    อวี

2.    สระเสียงผสม จำนวน 29 ตัว ได้แก่
ai    ออกเสียง    ไอ
ei    ออกเสียง    เอย
ao    ออกเสียง    เอา
ou    ออกเสียง    โอว
an    ออกเสียง    อัน
en    ออกเสียง    เอิน
ang  ออกเสียง    อัง
eng  ออกเสียง    เอิง
ong  ออกเสียง    โอง
ia    ออกเสียง    เอีย
ie    ออกเสียง    อี-เอ
iao  ออกเสียง   อี-เอา, เอียว
iou (iu) ออกเสียง  อี-โอว
ian  ออกเสียง    เอียน
in    ออกเสียง    อิน
iang ออกเสียง    เอียง
ing  ออกเสียง    อิง
iong  ออกเสียง    อี-โอง
ua    ออกเสียง    อวา
uo    ออกเสียง    อู-วอ
uai    ออกเสียง    อไว
uei (ui)ออกเสียง  อวย
uan    ออกเสียง   อวาน
uen    ออกเสียง   อเวิน
uang  ออกเสียง  อวาง
ueng  ออกเสียง  เอวิง
üe    ออกเสียง  อวี-เอ
üan  ออกเสียง    เอวียน
ün    ออกเสียง    อวิน

ตัว Y (อี) จะออกเสียงคล้าย “อ, ย” ในภาษาไทย
yi    ออกเสียง    อี, ยี
ya   ออกเสียง    อี-ยา
yao ออกเสียง    เอียว, เยียว
ye   ออกเสียง    อี-เอ, เย
you ออกเสียง    โยว
yan  ออกเสียง    เยียน, เอียน
yin   ออกเสียง   อิน, ยิน
yang ออกเสียง  เอียง
ying  ออกเสียง  อิง, ยิง
yong  ออกเสียง  อี-ยง, โยง
yu    ออกเสียง    อวี
yue   ออกเสียง    เยวีย
yuan   ออกเสียง    เยวียน
yun    ออกเสียง    ยวิน

ตัว W (อู) ออกเสียงคล้าย “อ, ว” ในภาษาไทย
wu    ออกเสียง    อู, วู
wa    ออกเสียง    อวา, วา
wo    ออกเสียง    อู-วอ, วอ
wai    ออกเสียง  อไว, ไว
wei   ออกเสียง  อวย, เวย
wan    ออกเสียง อวาน
wen    ออกเสียง อเวิน, เวิน
wang  ออกเสียง  อวาง
weng  ออกเสียง  เอวิง, เวิง

3/27/2553

拼音 พยัญชนะในพินอิน

ประเภทของพยัญชนะในพินอิน แยกออกเป็น 3 แบบ


1.    เสียงพยัญชนะต้นที่มีเสียงในภาษาไทย มี 11 ตัวดังนี้

       b    p    m    f    d    t    n    l    g    k    h


พยัญชนะ    b    ออกเสียง    ปอ  
พยัญชนะ    p    ออกเสียง    พอ   
พยัญชนะ    m    ออกเสียง   มอ  
พยัญชนะ    f    ออกเสียง    ฟอ


พยัญชนะ    d    ออกเสียง    เตอ
พยัญชนะ    t    ออกเสียง     เทอ
พยัญชนะ    n    ออกเสียง    เนอ
พยัญชนะ    l    ออกเสียง     เลอ


พยัญชนะ    g    ออกเสียง    เกอ
พยัญชนะ    k    ออกเสียง    เคอ
พยัญชนะ    h    ออกเสียง    เฮอ


2.    พยัญชนะที่ไม่มีเสียงในภาษาไทย มี 10 ตัว ดังนี้

      j    q    x    z    c    s    zh    ch    sh    r


พยัญชนะ    j    ออกเสียง     จี   
พยัญชนะ    q    ออกเสียง    ชี   
พยัญชนะ    x    ออกเสียง    ซี   
พยัญชนะ    z    ออกเสียง    จือ   
พยัญชนะ    c    ออกเสียง    ชือ   
พยัญชนะ    s    ออกเสียง    ซือ   
พยัญชนะ    zh   ออกเสียง   จือ (เสียงอยู่ในลำคอสั่นเล็กน้อย)   
พยัญชนะ    ch   ออกเสียง   ชือ (เสียงอยู่ในลำคอสั่นเล็กน้อย)   
พยัญชนะ    sh   ออกเสียง   ซือ    
พยัญชนะ    r     ออกเสียง    ยรือ    


3.    พยัญชนะ กึ่งสระ มี 2 ตัว คือ
พยัญชนะ y    อี  ออกเสียง อ, ย
พยัญชนะ w   อู  ออกเสียง ว



建议 โพสต์แนะนำ

专业英语-汉语 5 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 5 [ศัพท์จิตวิทยา 5]

专业英语5 ภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพ 5 encode: 编码 เข้ารหัส, เปลี่ยนเป็นรหัส memory: 记忆 หน่วยความจำ, ความทรงจำ, ความหลัง photon: 光子,见光度(等千通过一平方厘米大的瞳...