春晓 chūn xiăo รุ่งอรุณฤดูใบไม้ผลิ
孟浩然เมิ่งเฮ่าหราน
春 眠 不 觉 晓 ,ในฤดูใบไม้ผลิ นอนจนไม่รู้ว่าเช้า
chūn mián bù júe xiăo
处 处 闻 啼 鸟 。ทุกหนทุกแห่ง ได้ยินเสียงนกร้อง
chù chù wén tí niăo
夜 来 风 雨 声 ,กลางคืนมาถึง มีเสียงลมและฝน
yè lái fēng yŭ shēng
花 落 知 多 少 。ดอกไม้ร่วงไม่รู้ว่าเท่าใด
huā luà zhī duō shăo
读孟浩然诗感兴 จีนเด็ดดอกไม้
诗琳通 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
春 眠 不 觉 晓 ,ชุนเทียนนอนได้ไปถึงเช้า
处 处 闻 啼 鸟 。ทุกแห่งเราได้ยินปักษา
夜 来 风 雨 声 ,ค่ำคืนเสียงลมฝนพัดมา
花 落 知 多 少 。ดอกไม้ร่วงไม่รู้ว่าเท่าใด
花 繁 须 早 折 จะปล่อยร่วงไปใยเสียดายนัก
勿 待 香 韵 消 เพื่อนรักผู้มีจิตแจ่มใส
花 浓 情 也 重 จงเด็ดดมรมย์รื่นชื่นหทัย
君 心 爽 且 豪 บุปผาคือน้ำใจไมตรี
友 情 深 如 海 สุขล้ำสัมพันธ์ฉันมิตร
前 程 万 里 遥 พาชีวิตเรืองรุ่งมุ่งเกียรติศรี
姹 紫 嫣 红 日 ดอกไม้หลากหลายมากมี
春 园 兢 多 娇 แต่ล้วนงามดีไม่แพ้กัน
中 泰 手 足 情 จะเป็นจีนเป็นไทยใช่ใครอื่น
绵 廷 千 秋 好 จงชมชื่นผูกจิตสนิทมั่น
撷 花 相 馈 赠 เด็ดผกาแทนใจผูกพัน
家 国 更 妖 娆 แบ่งปันประดับเรือนเตือนตาเอย
注释:หมายเหตุ
诗琳通公主在给友人的一封信中提到孟浩然的《春晓》这首诗时曾说:“我很喜欢这首诗, 读来好像人在情浓,一切都令人心旷神怡。 我去澳大利亚时,参观过博物馆———不记得是在哪座城市了。在中国文物收藏室的墙上就贴有这首诗,可见是名作。”
正因为如此。当帕特亚拉民乐团的指挥请求诗琳通公主主赐矛模仿中国风格的泰国古典乐曲 《探桃花》曲词之时, 公主便把译好多年的《春晓》赐给了他们,《春晓》也变成了《探桃花》的第一篇唱词。后来公主又把 《春晓》这首诗加以扩充, 写成了三篇唱词,使其与《探桃花》风格更契合。但写来写去,写成所有的花朵都是好的,都是表达心灵的好工具。探花的目的又是为了献给对方,写了中泰友谊。
1990 年5月初,诗琳通公主写好了这支《探桃花》的唱词。后来,1996 年,当时被聘请为法政大学中文系专家的北京大学泰语专业的裴哓睿副教授将这三篇作品译成了中文。
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีลายพระหัตถ์ถึงพระสหายคนหนึ่ง และทรงกล่าวถึงซือ “ชุนเสี่ยว” ของเมิ่งฮ่าวหรานว่า “เราชอบบทกวีบทนี้ อ่านแล้วรู้สึกว่าอากาศสดชื่นดี บรรยากาศยามเช้าตรู่ ตอนที่เราไปออสเตรเลีย ไปพิพิธภัณฑ์จำไม่ได้แล้วว่าที่ไหน ในห้องที่เก็บศิลปวัตถุจีน เขาเขียนบทกวีบทนี้ติดไว้ข้างฝาห้อง แสดงว่าเป็นบทที่มีชื่อเสียง” (ลายพระราชหัตถ์ลงวันที่ 26 กรกฏาคม 2530 ซือเป็นบทกวีประเภทหนึ่งของจีน)
ด้วยเหตุนี้ เมื่อกำนันสำราญ เกิดผล วงดนตรีพาทยรัตน์ ขอพระราชทานบทร้องประกอบเพลงจีนเด็ดดอกไม้ เถา ซึ่งเป็นเพลงเก่าเพลงหนึ่งของวังบางขุนพรหมและเป็นเพลงสำเนียงจีน จึงทรงนำบทแปลซือ “ชุนเสี่ยว” ซึ่งทรงแปลไว้หลายปีแล้ว มาแต่งเป็นกลอนบทแรกของเพลงนี้ คำว่า “ชุนเสี่ยว” แปลว่า “รุ่งอรุณฤดูใบไม้ผลิ” (ชุน = ฤดูใบไม้ผลิ เสี่ยว = ย่ำรุ่ง รุ่งอรุณ)
บทกวีนี้กล่าวถึงคืนในฤดูชุนเทียน (ฤดูใบไม้ผลิ) ซึ่งอากาศดี ทำให้นอนสบายกว่าฤดูอื่นจึงหลับไปถึงเช้า โดยไม่ทราบว่าตอนกลางคืนระหว่างที่หลับไปนั้น มีลมฝนพัดมา ทำให้ดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ผลินั้นร่วงหล่นไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเคยอธิบายให้พระสหายฟังว่า “บทกวีนี้บางคนเคยบอกว่าเป็นการเปรียบเทียบเหมือนคนเรานอนหลับไม่รู้เรื่องราว ชีวิตคนอื่นจะยากลำบากอย่างไร เราก็ไม่รู้”
ส่วนบทร้องอีก 3 บทต่อมานั้นทรงพระราชนิพนธ์ต่อเติมซือ “ชุนเสี่ยว” เพื่อขมวดให้เข้ากับชื่อเพลง “จีนเด็ดดอกไม้” รับสั่งว่าเขียนไปเขียนมาก็วกมาเป็นว่า ดอกไม้ทั้งหลายล้วนเป็นของดี ใช้เป็นเครื่องแสดงน้ำใจไมตรีได้อย่างดีเลิศ เลยกลายเป็นเด็ดดอกไม้แบ่งปันกันสานเป็นสัมพันธไมตรีจีนกับไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์เนื้อร้อง “จีนเด็ดดอกไม้ เถา” ในต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการแปลบทร้องที่ทรงต่อเติมจากบทกวีจีนทั้ง 3 บทดังกล่าวเป็นภาษาจีน โดยรองศาสตราจารย์ เผยเสี่ยวรุ่ย (Péi Xiăo ruì) แห่งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในขณะนั้น
จากหนังสือ หยกใสร่ายคำ
พระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
พระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี