การกลายเสียงวรรณยุกต์ 变调
การกลายเสียงวรรณยุกต์เสียงสาม
1. เมื่อพยางค์เสียงสามอยู่ติดกันสองพยางค์ จะต้องเปลี่ยนการออกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์หน้า
เป็นเสียงสอง เช่น
你好 (Nĭ hăo หนี่ห่าว) ต้องเปลี่ยนการออกเสียงเป็น Ní hăo หนีห่าว
很好 (Hěn hăo เหิ่นห่าว) ต้องเปลี่ยนการออกเสียงเป็น Hén hăo เหินห่าว เป็นต้น
2. เมื่อพยางค์เสียงสามอยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสี่ และเสียงเบา
จะต้องออกเสียง วรรณยุกต์ของพยางค์หน้าเพียงครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ จะกดเสียงลงต่ำ
โดยไม่ยกระดับเสียงขึ้นในช่วงท้ายพยางค์ การออกเสียงลักษณะนี้ เรียกว่า
“การออกเสียงสามครึ่งเสียง”ตัวอย่างเช่น คำว่า
老师 lăoshī
很难 hěn nán
很大 hěn dà
我们 wǒmen
3. สำหรับเครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์ยังคงรูปวรรณยุกต์เสียงสาม “˅”ตามเดิม
การกลายเสียงของคำว่า “一”(yī อี = หนึ่ง)
เดิมที “一”เป็นคำที่มีวรรณยุกต์เสียงหนึ่ง
1. เมื่อต้องการอ่านคำว่า “一”ที่ปรากฏโดยลำพัง หรือนับจำนวน “หนึ่ง” หรืออ่านตัวเลข “หนึ่ง”
ให้ออกเสียงว่า “ yī (อี)” ตามเดิม
2. หากคำว่า “一”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงสี่ ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสอง
อ่านออกเสียงว่า “ yí (อี๋)”
เช่น 一定 yī dìng ให้อ่านออกเสียงเป็น yí dìng (อี๋ติ้ง)
3. หาก “一”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสอง หรือเสียงสาม
ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสี่ อ่านออกเสียงเป็น “ yì (อี้) ”
ตัวอย่าง
เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง 一天 yī tiān ให้ออกเสียงเป็น yì tiān (อี้เทียน)
เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงสอง 一年 yī nián อี้เหนียน ให้ออกเสียงเป็น yì nián (อี้เหนียน)
เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงสาม 一起 yī qĭ ให้ออกเสียงเป็น yì qĭ (อี้ฉี่)
การกลายเสียงของคำว่า “不”( bù ปุ้ = ไม่)
“不” เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสองและเสียงสาม ให้ออกเสียงคงเดิม เช่น
不高 bù gāo
不忙 bù máng
不好 bù hăo
แต่เมื่อคำว่า “不”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงสี่ ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสอง
อ่านว่า “bú เช่น
不客气 bù kè qi (ปู้เค่อชี่) ให้ออกเสียงเป็น 不bú kè qi (ปู๋เค่อชี่)
การออกเสียงพยางค์ที่ผสานเสียงกับสระ “er” ท้ายพยางค์ 儿化韵
เมื่อปรากฏสระเสียงพิเศษ “er” อยู่ด้านหลังสระอื่น และเกิดการผสานเสียงเข้ากับเสียงพยัญชนะของพยางค์ด้านหน้ากลายเป็นพยางค์เดียวกัน ลักษณะการออกเสียงแบบนี้เรียกว่า “儿化 (èr huà)”
การออกเสียง 二化 จะต้องงอลิ้นขึ้นตรงท้ายพยางค์ ส่วนการเขียนสัทอักษร (เสียงอ่าน) เพื่อแสดงเสียงดังกล่าว จะต้องเพิ่ม “r” ตรงท้ายพยางค์เดิม และหากต้องการเขียนคำที่มีลักษณะการออกเสียงเช่นนี้ด้วยตัวอักษรจีน จะต้องเขียนตัว “儿” เพิ่มไว้ด้านหลัง
เช่น
nă + èr = năr 哪 + 儿 = 哪儿
zhè + èr = zhèr 这 + 儿 = 这儿
ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]
การกลายเสียงวรรณยุกต์เสียงสาม
1. เมื่อพยางค์เสียงสามอยู่ติดกันสองพยางค์ จะต้องเปลี่ยนการออกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์หน้า
เป็นเสียงสอง เช่น
你好 (Nĭ hăo หนี่ห่าว) ต้องเปลี่ยนการออกเสียงเป็น Ní hăo หนีห่าว
很好 (Hěn hăo เหิ่นห่าว) ต้องเปลี่ยนการออกเสียงเป็น Hén hăo เหินห่าว เป็นต้น
2. เมื่อพยางค์เสียงสามอยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสี่ และเสียงเบา
จะต้องออกเสียง วรรณยุกต์ของพยางค์หน้าเพียงครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ จะกดเสียงลงต่ำ
โดยไม่ยกระดับเสียงขึ้นในช่วงท้ายพยางค์ การออกเสียงลักษณะนี้ เรียกว่า
“การออกเสียงสามครึ่งเสียง”ตัวอย่างเช่น คำว่า
老师 lăoshī
很难 hěn nán
很大 hěn dà
我们 wǒmen
3. สำหรับเครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์ยังคงรูปวรรณยุกต์เสียงสาม “˅”ตามเดิม
การกลายเสียงของคำว่า “一”(yī อี = หนึ่ง)
เดิมที “一”เป็นคำที่มีวรรณยุกต์เสียงหนึ่ง
1. เมื่อต้องการอ่านคำว่า “一”ที่ปรากฏโดยลำพัง หรือนับจำนวน “หนึ่ง” หรืออ่านตัวเลข “หนึ่ง”
ให้ออกเสียงว่า “ yī (อี)” ตามเดิม
2. หากคำว่า “一”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงสี่ ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสอง
อ่านออกเสียงว่า “ yí (อี๋)”
เช่น 一定 yī dìng ให้อ่านออกเสียงเป็น yí dìng (อี๋ติ้ง)
3. หาก “一”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสอง หรือเสียงสาม
ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสี่ อ่านออกเสียงเป็น “ yì (อี้) ”
ตัวอย่าง
เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง 一天 yī tiān ให้ออกเสียงเป็น yì tiān (อี้เทียน)
เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงสอง 一年 yī nián อี้เหนียน ให้ออกเสียงเป็น yì nián (อี้เหนียน)
เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงสาม 一起 yī qĭ ให้ออกเสียงเป็น yì qĭ (อี้ฉี่)
การกลายเสียงของคำว่า “不”( bù ปุ้ = ไม่)
“不” เมื่ออยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสองและเสียงสาม ให้ออกเสียงคงเดิม เช่น
不高 bù gāo
不忙 bù máng
不好 bù hăo
แต่เมื่อคำว่า “不”ปรากฏอยู่หน้าพยางค์เสียงสี่ ให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำนี้เป็นเสียงสอง
อ่านว่า “bú เช่น
不客气 bù kè qi (ปู้เค่อชี่) ให้ออกเสียงเป็น 不bú kè qi (ปู๋เค่อชี่)
การออกเสียงพยางค์ที่ผสานเสียงกับสระ “er” ท้ายพยางค์ 儿化韵
เมื่อปรากฏสระเสียงพิเศษ “er” อยู่ด้านหลังสระอื่น และเกิดการผสานเสียงเข้ากับเสียงพยัญชนะของพยางค์ด้านหน้ากลายเป็นพยางค์เดียวกัน ลักษณะการออกเสียงแบบนี้เรียกว่า “儿化 (èr huà)”
การออกเสียง 二化 จะต้องงอลิ้นขึ้นตรงท้ายพยางค์ ส่วนการเขียนสัทอักษร (เสียงอ่าน) เพื่อแสดงเสียงดังกล่าว จะต้องเพิ่ม “r” ตรงท้ายพยางค์เดิม และหากต้องการเขียนคำที่มีลักษณะการออกเสียงเช่นนี้ด้วยตัวอักษรจีน จะต้องเขียนตัว “儿” เพิ่มไว้ด้านหลัง
เช่น
nă + èr = năr 哪 + 儿 = 哪儿
zhè + èr = zhèr 这 + 儿 = 这儿
ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น