ที่มาของสัตว์ต่างๆ ใน 12 นักษัตร
มีความเชื่อว่าคนโบราณได้ตั้งชื่อหน่วยเวลาตามการดำเนินชีวิตของสัตว์ต่างๆ โดยเริ่มจาก
1. ชวด (หนู) ช่วงเวลา “ยามจื่อ” (子时) ในสมัยก่อนก็คือเวลา 5 ทุ่มถึงตีหนึ่งช่วงเวลานั้นเป็นเวลาอึกทึก ของหนู
2. ฉลู (วัว) ช่วงเวลา “ยามโฉ่ว” (丑时) คือช่วงเวลาตี 1 ถึงตี 3 เป็นช่วงเวลาที่วัวจะกินหญ้าเพื่อเตรียมออกไปไถนา
3. ขาล (เสือ) ช่วงเวลา “ยามอิ๋น” (寅时) คือช่วงเวลาตี 3 ถึงตี 5 เป็นช่วงเวลาที่เสือดุร้ายมากที่สุด
4. เถาะ (กระต่าย) “ยามเหมา” (卯时) คือตี 5 ถึง 7 โมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์ยังคงลอยอยู่บนท้องฟ้า ตำนานกล่าวไว้ว่ามีกระต่ายบนดวงจันทร์ ฉะนั้นเวลานี้จึงแทนด้วยกระต่าย
5. มะโรง (มังกร) “ยามเฉิน” (辰时) คือเวลา 7 โมงถึง 9 โมงเช้า แม้เราจะไม่เคยเห็นมัน แต่คนโบราณเชื่อว่า เป็นเวลาที่ “มังกรพ่นฝน” ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงแทนด้วยสัตว์ลึกลับที่เล่าขานกันมาอย่าง มังกร
6. มะเส็ง (งู) “ยามซื่อ” (巳时) ช่วงเวลา 9 โมงเช้าถึง 11 โมง กล่าวกันว่า เป็นช่วงเวลาที่งูลอกคราบในทุ่งหญ้า และออกจากรูมาล่าเหยื่อเป็นอาหาร
7. มะเมีย (ม้า) “ยามอู่” (午时) คือ 11 โมงถึงบ่ายโมง เนื่องจากแสงสว่างเริ่มหม่นลงจากเวลาเที่ยง แต่ม้ายังคงวิ่งเป็นพันลี้ ม้าเป็นตัวแทนของเวลามืดครึ้ม ดังนั้นจึงใช้ม้าแทนช่วงเวลานี้
8. มะแม (แพะ) “ยามเว่ย” (未时) คือบ่ายโมงถึงบ่าย 3 กล่าวกันว่าเป็นช่วงเวลาที่แพะกำลังออกกินหญ้าแล้วต้นหญ้าจะงอกใหม่ได้
9. วอก (ลิง) “ยามเซิน” (申时) คือบ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น ฟ้าใกล้มืดแล้ว ลิงมักจะส่งเสียงร้อง
10. ระกา (ไก่) “ยามโหย่ว” (酉时) คือเวลา 5 โมงเย็นถึงทุ่มตรง เวลานี้เป็นเวลาขึ้นของดวงจันทร์มีตำนานเรื่อง “ไก่ทองอาทิตย์” ดังนั้นจึงแทนด้วยไก่
11. จอ (สุนัข) “ยามซวี” (戌时) คือเวลา 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม เวลานี้เป็นเวลาเริ่มต้นกลางคืน สุนัขเป็นสัตว์เฝ้ายาม จึงแทนด้วยสุนัข
12. กุน (หมู) “ยามไฮ่” (亥时) คือเวลา 3 ทุ่มถึง 5 ทุ่ม เป็นช่วงเวลาที่ฟ้าดินอลหม่านที่สุด แต่หมูกลับชอบนอนที่สุด
มีความเชื่อว่าคนโบราณได้ตั้งชื่อหน่วยเวลาตามการดำเนินชีวิตของสัตว์ต่างๆ โดยเริ่มจาก
1. ชวด (หนู) ช่วงเวลา “ยามจื่อ” (子时) ในสมัยก่อนก็คือเวลา 5 ทุ่มถึงตีหนึ่งช่วงเวลานั้นเป็นเวลาอึกทึก ของหนู
2. ฉลู (วัว) ช่วงเวลา “ยามโฉ่ว” (丑时) คือช่วงเวลาตี 1 ถึงตี 3 เป็นช่วงเวลาที่วัวจะกินหญ้าเพื่อเตรียมออกไปไถนา
3. ขาล (เสือ) ช่วงเวลา “ยามอิ๋น” (寅时) คือช่วงเวลาตี 3 ถึงตี 5 เป็นช่วงเวลาที่เสือดุร้ายมากที่สุด
4. เถาะ (กระต่าย) “ยามเหมา” (卯时) คือตี 5 ถึง 7 โมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์ยังคงลอยอยู่บนท้องฟ้า ตำนานกล่าวไว้ว่ามีกระต่ายบนดวงจันทร์ ฉะนั้นเวลานี้จึงแทนด้วยกระต่าย
5. มะโรง (มังกร) “ยามเฉิน” (辰时) คือเวลา 7 โมงถึง 9 โมงเช้า แม้เราจะไม่เคยเห็นมัน แต่คนโบราณเชื่อว่า เป็นเวลาที่ “มังกรพ่นฝน” ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงแทนด้วยสัตว์ลึกลับที่เล่าขานกันมาอย่าง มังกร
6. มะเส็ง (งู) “ยามซื่อ” (巳时) ช่วงเวลา 9 โมงเช้าถึง 11 โมง กล่าวกันว่า เป็นช่วงเวลาที่งูลอกคราบในทุ่งหญ้า และออกจากรูมาล่าเหยื่อเป็นอาหาร
7. มะเมีย (ม้า) “ยามอู่” (午时) คือ 11 โมงถึงบ่ายโมง เนื่องจากแสงสว่างเริ่มหม่นลงจากเวลาเที่ยง แต่ม้ายังคงวิ่งเป็นพันลี้ ม้าเป็นตัวแทนของเวลามืดครึ้ม ดังนั้นจึงใช้ม้าแทนช่วงเวลานี้
8. มะแม (แพะ) “ยามเว่ย” (未时) คือบ่ายโมงถึงบ่าย 3 กล่าวกันว่าเป็นช่วงเวลาที่แพะกำลังออกกินหญ้าแล้วต้นหญ้าจะงอกใหม่ได้
9. วอก (ลิง) “ยามเซิน” (申时) คือบ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น ฟ้าใกล้มืดแล้ว ลิงมักจะส่งเสียงร้อง
10. ระกา (ไก่) “ยามโหย่ว” (酉时) คือเวลา 5 โมงเย็นถึงทุ่มตรง เวลานี้เป็นเวลาขึ้นของดวงจันทร์มีตำนานเรื่อง “ไก่ทองอาทิตย์” ดังนั้นจึงแทนด้วยไก่
11. จอ (สุนัข) “ยามซวี” (戌时) คือเวลา 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม เวลานี้เป็นเวลาเริ่มต้นกลางคืน สุนัขเป็นสัตว์เฝ้ายาม จึงแทนด้วยสุนัข
12. กุน (หมู) “ยามไฮ่” (亥时) คือเวลา 3 ทุ่มถึง 5 ทุ่ม เป็นช่วงเวลาที่ฟ้าดินอลหม่านที่สุด แต่หมูกลับชอบนอนที่สุด
เดรดิตข้อมูล หนังสือการ์ตูน
"อ๋อ! อย่างนี้นี่เอง ฉลาดรู้ทุกเรื่องของเมืองจีน"
สำนักพิมพ์ THONGKASEM
"อ๋อ! อย่างนี้นี่เอง ฉลาดรู้ทุกเรื่องของเมืองจีน"
สำนักพิมพ์ THONGKASEM
1 ความคิดเห็น:
ปีจอคือ สุนัขเป็นสัตว์เฝ้ายาม นี่เอง ขอบคุณสำหรับความหมายครับ พึ่งรู้นะเนี้ย
แสดงความคิดเห็น