端午 duān wǔ ตวนอู่ วันกวีแห่งชาติ รำลึกถึงชวีหยวน (屈原) Qū yuán
วันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ในปฏิทินการเกษตรของจีน เรียกว่า วันตวนอู่ 端午
端 คือ ช่วงต้น, เดือน 5 เรียกว่าเดือน 午, และเวลา 午 ถือเป็นเวลา 阳 จึงเรียกว่าวัน 端阳 อีกชื่อหนึ่ง และเดือน 5 ซ้อนกับวันที่ 5 จึงเรียกวันฉงอู่ 重午 ด้วย ถือเป็นหนึ่งในสามเทศกาลใหญ่ของชาวจีน (อีกสองเทศกาลคือ 春节 Chūn jié และ 中秋节 Zhōng qiū jié)
วันนี้มีเรื่องราวของวีรชนผู้รักชาติเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มากมาย เป็นวันที่รำลึกถึง อู่จื่อซวี่ (伍子胥 Wǔ zi xū ) วีรชนผู้รักชาติในสมัยชุนชิว, เป็นวันที่รำลึกถึงชวีหยวน (屈原) กวีผู้รักชาติในสมัยจ้านกว๋อ ปลายสมัยราชวงศ์โจว, เป็นวันที่รำลึกถึงเฉาเอ๋อ ธิดากตัญญูในสมัยตงฮั่น และเป็นวันที่รำลึกถึงชิวจิ่น วีรสตรีในสมัยการปฏิวัติประชาธิปไตยของ ดร.ยัดซุนเซ็น คนไทยเรารู้จักกันว่าเป็นวันกินบะจ่าง
ชวีหยวน (屈原) แซ่ชวี (屈 Qū ) ชื่อผิง (平 Píng ) ชื่อรองว่าหยวน (原 Yuán ) เป็นคนเมืองฉู่ มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางค่อนปลายในยุคจ้านกว๋อ ห่างจากอู่จื่อซวี่ ประมาน 200 ปี
ในสมัยนั้น เมืองฉู่เป็นเมืองใหญ่มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน เคยเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดใน 7 พยัคฆ์รัฐสงคราม (战国七雄) แต่พอมาถึงสมัยฉู่ฮว๋ายหวาง กษัตริย์ผู้โง่เขลา การเมืองอ่อนแอบ้านเมืองระส่ำระสาย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่รัฐฉิน เข้มแข็งขึ้นเป็นพยัคฆ์ตัวใหม่และมีนโยบายรุกราน
ชวีหยวนเป็นขุนนางใหญ่ของรัฐฉู่ ในช่วงนี้ ชวีหยวนเกิดในตระกูลสูงศักดิ์ได้รับการศึกษาอย่างดี รอบรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในทุกแขนงและเป็นผู้มีลิ้นการทูตเป็นเลิศ
ชวีหยวนเสนอนโยบายภายในให้ปฏิรูปการปกครอง ขจัดพวกนายทาสที่กดขี่และเหล่าขุนนางที่มีอิทธิพล ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนยากจน ส่งเสริมให้คนดีมีความสามารถมีโอกาสเข้ามารับใช้บ้านเมือง
ต่อภายนอกชวีหยวน เสนอให้ใช้นโยบาย 合纵 ของ 苏秦 คือ ทำสนธิสัญญารวม 6 รัฐต่อต้านฉิน ตรงข้ามกับจางอี้ (张仪) ขุนนางใหญ่ของเมืองฉินที่เสนอนโยบาย 连横 คือแยกสลาย 6 รัฐสามัคคีฉิน
อ๋องฉิน เป็นคนฉลาดและทะเยอทะยาน ทำนุบำรุงรัฐฉินจนเข้มแข็งมั่งคั่งดีวันดีคืน จนสามารถซื้อตัวขุนนางต่างๆ ในรัฐฉู่ ให้คัดค้านนโยบายของชวีหยวน จนในที่สุดอ๋องฉู่ ล้มเลิกสนธิสัญญารวม 6 รัฐ ไปทำสนธิสัญญากับรัฐฉิน ปลดชวีหยวนลงเป็นขุนนางชั้นผู้น้อย และเนรเทศชวีหยวนไปอยู่ชายแดนที่กันดาร
ชวีหยวนพยายามทำหนังสือตักเตือนอ๋องฉู่หลายครั้ง นอกจากจะไม่เป็นผลยังถูกเหล่าขุนนางกังฉินใส่ร้ายว่าหลงตัวเอง บังอาจหมิ่นอ๋องฉู่ จนในที่สุดถูกเนรเทศไปอยู่ที่ มี่หลัวเจียง (汨罗江) ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ชวีหยวนเป็นผู้มีความสามารถในด้านงานเขียนและกาพย์กลอน ช่วงที่ถูกเนรเทศได้ใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขอย่างใกล้ชิด และได้เห็นความทุกข์ยากของมวลชนเนื่องจากความโง่เขลาเบาปัญญาของผู้ปกครอง จึงได้เขียนบทกวีขึ้นมากมายที่สะท้อนถึงความทุกข์ยากของมวลชนอันเนื่องจากมี ผู้ปกครองที่โง่เขลาเบาปัญญา และสอดแทรกทัศนะที่สะท้อนถึงจิตใจที่รักชาติของตนเอง
ชวีหยวนได้ประพันธ์บทกวีขนาดยาวไว้ถึง 20 กว่าเรื่องที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในยุคนั้น
ในช่วงแรกที่ชวีหยวนถูกเนรเทศมาอยู่บริเวณตอนเหนือของแม่น้ำฮั่นสุ่ย ได้ใช้ชีวิตร่วมทุกข์สุขกับชาวบ้านอย่างกลมกลืน และใช้เวลาว่างศึกษาบทเพลงพื้นบ้านของเมืองฉู่ และในช่วงนี้เองที่ชวีหยวน ได้เขียนบทกวีหลีเซา (离骚) ที่บรรยายถึงความทุกข์ระทมที่ต้องถูกเนรเทศไปอยู่แดนไกล ความทุกข์ยากของประชาชนที่มีกษัตริย์โง่เขลา และความเคียดแค้นต่อพวกขุนนางที่ประจบสอพลอ
บทกวีหลีเซาเป็นบทร้อยกรองขนาดยาว มี 373 บทมีตัวอักษรถึง 2,500 ตัว ถือเป็นบทกวีร้อยกรองขนาดยาวชิ้นแรกในประวัติศาสตร์จีน ชวีหยวนจึงถูกยกย่องให้เป็นปฐมกวีของจีน และในวันตวนอู่ ก็ถือเป็นวันกวีแห่งชาติอีกด้วย
ชวีหยวนยังคงเฝ้าคอยว่าสักวันหนึ่ง ราชสำนักคงจะให้ความเชื่อถือและเรียกใช้ตนอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีข่าวคราวใดจากราชสำนัก ต่อมาชวีหยวนถูกเนรเทศมาอยู่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ชีวิตที่ระหกระเหินนานปีทำให้ชวีหยวนมีสุขภาพทรุดโทรม ผมเผ้าขาวหงอก
****
หมายเหตุ "บทกวีหลีเซา(离骚)" เป็นบทกลอนที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และยาวที่สุดของชวีหยวน มี 2,491 อักษร มี 373 วรรค
วันหนึ่งขณะที่ชวีหยวนเดินอยู่ริมแม่น้ำ มีชาวเรือผู้หนึ่งเข้ามาถามว่าท่านคือขุนนางชวีหยวนใช่หรือไม่
ทำไมจึงตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
ชวีหยวนตอบว่า โลกนี้มีแต่ความโสมม มีเพียงเราเท่านั้นที่ยังสดใส ขุนนางในราชสำนักล้วนงมงาย มีแต่เราที่ยังจงรักภักดีอย่างบริสุทธิ์ใจ เราจึงถูกเนรเทศมาตกระกำลำบากอย่างนี้
ชาวเรือผู้นั้นพูดว่า ในเมื่อคนทั้งโลกล้วนโสมมและงมงาย ทำไมท่านถึงไม่ร่วมหัวจมท้ายกับพวกเขาเหล่านั้น การทำตัวดีเด่นแตกต่างจากผู้อื่นจึงต้องประสบเภทภัยเช่นนี้
ชวีหยวนกล่าวว่า ตัวเรายอมจมลงสู่ก้นแม่น้ำเป็นอาหารของปูปลา แต่ไม่ยอมให้จิตใจที่บริสุทธิ์ต้องแปดเปื้อนไปกับพวกคนชั่ว
ในปีที่ 278 ก่อนค.ศ. กองทัพฉินกรีฑาทัพรุกรานฉู่ รัฐฉู่ล่มสลาย ชวีหยวนจบบทกวีบทสุดท้ายชื่อฮว๋ายซา แล้วใช้ก้อนหินถ่วงตัวเองจมลงสู่แม่น้ำมี่หลัวเจียง ในวันที่ 5 เดือน 5
หลังจากที่ชวีหยวน จมร่างลงสู่แม่น้ำมี่หลัวเจียงแล้ว ชาวบ้านแถบนั้นพายเรือวนเวียนค้นหาอยู่บนแม่น้ำหลายวัน บางคนพายไปจนถึงทะเลสาบต้งถิงหู แต่ก็ไม่พบซากศพของชวีหยวน
ชาวเรือบางคนเอาข้าวเหนียวปั้นที่เตรียมมาเป็นเสบียงโยนลงไปในแม่น้ำเป็น อาหารปลา เพื่อให้ปลาเหล่านั้นกินอิ่มแล้วไม่มาทำร้ายซากศพของชวีหยวน มีผู้เฒ่าคนหนึ่งเทเหล้ากำมะถันลงไปในน้ำเพื่อมึนเมาพวกสัตว์น้ำ จะได้ไม่มาทำร้ายซากศพของชวีหยวนเช่นกัน
จากนั้นในวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ชาวบ้านในบริเวณนั้นจะทำการรำลึกถึงชวีหยวนด้วยการพายเรือบนแม่น้ำมี่หลัวเจียง โยนข้าวเหนียวปั้นและเทเหล้ากำมะถัน ก่อเป็นประเพณีแข่งเรือมังกร กินขนมจ้งจื่อ ดื่มเหล้ากำมะถันในวันเทศกาลตวนอู่
พูดถึงการเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายๆ กำปั้นห่อด้วยใบไผ่ที่เรียกกันว่าจ้งจื่อ มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นคงยากที่จะระบุชัดได้ เป็นวิธีการพกข้าวห่อของคนสมัยโบราณ
จ้งจื่อ มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเอาข้าวเหนียวผสมน้ำด่าง ห่อด้วยใบไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ นึ่งสุกแล้วมีสีอมเหลืองรสกร่อยๆ เมือกๆ เรียกว่า จีจ้ง รสชาติไม่ดีนัก เวลากินต้องจิ้มน้ำตาล ชนิดนี้กินเพื่อล้างท้องฆ่าเชื้อโรค เนื่องจากเดือน 5 อากาศร้อนจัดมีโรคระบาดชุก คนจีนเชื่อกันว่าด่างสามารถล้างท้องและฆ่าเชื้อโรคได้
ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือบะจ่างที่นิยมในบ้านเรา ส่วนใหญ่นิยมใส่ไส้พุทรา เม็ดบัว ถั่วลิสง เนื้อหมู ถ้าเป็นของคนกวางตุ้งจะใช้ใบบัวห่อเป็นรูปกระทง แทนที่จะห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบไผ่ แต่ส่วนผสมและการปรุงรสก็จะคล้ายๆ กัน
ปัจจุบันประเพณีเทศกาลตวนอู่ ได้เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางถึงนานาประเทศ และบะจ่าง ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลตวนอู่ นอกจากนี้ในอดีตยังเป็นสัญลักษณ์การขอแต่งงานต่อหญิงสาวของชายหนุ่มอีกด้วย
ขอบพระคุณข้อมูลจาก zhongtai.org
โครงการอาสาดิกชันนารี จีน-ไทย ไทย-จีน
图片来自
baike.so.com
www.154155.com
bj.bendibao.com
yule.sohu.com
chaiwan-dragonboat.yolasite.com
วันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ในปฏิทินการเกษตรของจีน เรียกว่า วันตวนอู่ 端午
端 คือ ช่วงต้น, เดือน 5 เรียกว่าเดือน 午, และเวลา 午 ถือเป็นเวลา 阳 จึงเรียกว่าวัน 端阳 อีกชื่อหนึ่ง และเดือน 5 ซ้อนกับวันที่ 5 จึงเรียกวันฉงอู่ 重午 ด้วย ถือเป็นหนึ่งในสามเทศกาลใหญ่ของชาวจีน (อีกสองเทศกาลคือ 春节 Chūn jié และ 中秋节 Zhōng qiū jié)
วันนี้มีเรื่องราวของวีรชนผู้รักชาติเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มากมาย เป็นวันที่รำลึกถึง อู่จื่อซวี่ (伍子胥 Wǔ zi xū ) วีรชนผู้รักชาติในสมัยชุนชิว, เป็นวันที่รำลึกถึงชวีหยวน (屈原) กวีผู้รักชาติในสมัยจ้านกว๋อ ปลายสมัยราชวงศ์โจว, เป็นวันที่รำลึกถึงเฉาเอ๋อ ธิดากตัญญูในสมัยตงฮั่น และเป็นวันที่รำลึกถึงชิวจิ่น วีรสตรีในสมัยการปฏิวัติประชาธิปไตยของ ดร.ยัดซุนเซ็น คนไทยเรารู้จักกันว่าเป็นวันกินบะจ่าง
ชวีหยวน (屈原) แซ่ชวี (屈 Qū ) ชื่อผิง (平 Píng ) ชื่อรองว่าหยวน (原 Yuán ) เป็นคนเมืองฉู่ มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางค่อนปลายในยุคจ้านกว๋อ ห่างจากอู่จื่อซวี่ ประมาน 200 ปี
ในสมัยนั้น เมืองฉู่เป็นเมืองใหญ่มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน เคยเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดใน 7 พยัคฆ์รัฐสงคราม (战国七雄) แต่พอมาถึงสมัยฉู่ฮว๋ายหวาง กษัตริย์ผู้โง่เขลา การเมืองอ่อนแอบ้านเมืองระส่ำระสาย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่รัฐฉิน เข้มแข็งขึ้นเป็นพยัคฆ์ตัวใหม่และมีนโยบายรุกราน
ชวีหยวนเป็นขุนนางใหญ่ของรัฐฉู่ ในช่วงนี้ ชวีหยวนเกิดในตระกูลสูงศักดิ์ได้รับการศึกษาอย่างดี รอบรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในทุกแขนงและเป็นผู้มีลิ้นการทูตเป็นเลิศ
ชวีหยวนเสนอนโยบายภายในให้ปฏิรูปการปกครอง ขจัดพวกนายทาสที่กดขี่และเหล่าขุนนางที่มีอิทธิพล ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนยากจน ส่งเสริมให้คนดีมีความสามารถมีโอกาสเข้ามารับใช้บ้านเมือง
ต่อภายนอกชวีหยวน เสนอให้ใช้นโยบาย 合纵 ของ 苏秦 คือ ทำสนธิสัญญารวม 6 รัฐต่อต้านฉิน ตรงข้ามกับจางอี้ (张仪) ขุนนางใหญ่ของเมืองฉินที่เสนอนโยบาย 连横 คือแยกสลาย 6 รัฐสามัคคีฉิน
อ๋องฉิน เป็นคนฉลาดและทะเยอทะยาน ทำนุบำรุงรัฐฉินจนเข้มแข็งมั่งคั่งดีวันดีคืน จนสามารถซื้อตัวขุนนางต่างๆ ในรัฐฉู่ ให้คัดค้านนโยบายของชวีหยวน จนในที่สุดอ๋องฉู่ ล้มเลิกสนธิสัญญารวม 6 รัฐ ไปทำสนธิสัญญากับรัฐฉิน ปลดชวีหยวนลงเป็นขุนนางชั้นผู้น้อย และเนรเทศชวีหยวนไปอยู่ชายแดนที่กันดาร
ชวีหยวนพยายามทำหนังสือตักเตือนอ๋องฉู่หลายครั้ง นอกจากจะไม่เป็นผลยังถูกเหล่าขุนนางกังฉินใส่ร้ายว่าหลงตัวเอง บังอาจหมิ่นอ๋องฉู่ จนในที่สุดถูกเนรเทศไปอยู่ที่ มี่หลัวเจียง (汨罗江) ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ชวีหยวนเป็นผู้มีความสามารถในด้านงานเขียนและกาพย์กลอน ช่วงที่ถูกเนรเทศได้ใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขอย่างใกล้ชิด และได้เห็นความทุกข์ยากของมวลชนเนื่องจากความโง่เขลาเบาปัญญาของผู้ปกครอง จึงได้เขียนบทกวีขึ้นมากมายที่สะท้อนถึงความทุกข์ยากของมวลชนอันเนื่องจากมี ผู้ปกครองที่โง่เขลาเบาปัญญา และสอดแทรกทัศนะที่สะท้อนถึงจิตใจที่รักชาติของตนเอง
ชวีหยวนได้ประพันธ์บทกวีขนาดยาวไว้ถึง 20 กว่าเรื่องที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในยุคนั้น
ในช่วงแรกที่ชวีหยวนถูกเนรเทศมาอยู่บริเวณตอนเหนือของแม่น้ำฮั่นสุ่ย ได้ใช้ชีวิตร่วมทุกข์สุขกับชาวบ้านอย่างกลมกลืน และใช้เวลาว่างศึกษาบทเพลงพื้นบ้านของเมืองฉู่ และในช่วงนี้เองที่ชวีหยวน ได้เขียนบทกวีหลีเซา (离骚) ที่บรรยายถึงความทุกข์ระทมที่ต้องถูกเนรเทศไปอยู่แดนไกล ความทุกข์ยากของประชาชนที่มีกษัตริย์โง่เขลา และความเคียดแค้นต่อพวกขุนนางที่ประจบสอพลอ
บทกวีหลีเซาเป็นบทร้อยกรองขนาดยาว มี 373 บทมีตัวอักษรถึง 2,500 ตัว ถือเป็นบทกวีร้อยกรองขนาดยาวชิ้นแรกในประวัติศาสตร์จีน ชวีหยวนจึงถูกยกย่องให้เป็นปฐมกวีของจีน และในวันตวนอู่ ก็ถือเป็นวันกวีแห่งชาติอีกด้วย
ชวีหยวนยังคงเฝ้าคอยว่าสักวันหนึ่ง ราชสำนักคงจะให้ความเชื่อถือและเรียกใช้ตนอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีข่าวคราวใดจากราชสำนัก ต่อมาชวีหยวนถูกเนรเทศมาอยู่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ชีวิตที่ระหกระเหินนานปีทำให้ชวีหยวนมีสุขภาพทรุดโทรม ผมเผ้าขาวหงอก
离骚 易烊千玺版
หมายเหตุ "บทกวีหลีเซา(离骚)" เป็นบทกลอนที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และยาวที่สุดของชวีหยวน มี 2,491 อักษร มี 373 วรรค
วันหนึ่งขณะที่ชวีหยวนเดินอยู่ริมแม่น้ำ มีชาวเรือผู้หนึ่งเข้ามาถามว่าท่านคือขุนนางชวีหยวนใช่หรือไม่
ทำไมจึงตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
ชวีหยวนตอบว่า โลกนี้มีแต่ความโสมม มีเพียงเราเท่านั้นที่ยังสดใส ขุนนางในราชสำนักล้วนงมงาย มีแต่เราที่ยังจงรักภักดีอย่างบริสุทธิ์ใจ เราจึงถูกเนรเทศมาตกระกำลำบากอย่างนี้
ชาวเรือผู้นั้นพูดว่า ในเมื่อคนทั้งโลกล้วนโสมมและงมงาย ทำไมท่านถึงไม่ร่วมหัวจมท้ายกับพวกเขาเหล่านั้น การทำตัวดีเด่นแตกต่างจากผู้อื่นจึงต้องประสบเภทภัยเช่นนี้
ชวีหยวนกล่าวว่า ตัวเรายอมจมลงสู่ก้นแม่น้ำเป็นอาหารของปูปลา แต่ไม่ยอมให้จิตใจที่บริสุทธิ์ต้องแปดเปื้อนไปกับพวกคนชั่ว
ในปีที่ 278 ก่อนค.ศ. กองทัพฉินกรีฑาทัพรุกรานฉู่ รัฐฉู่ล่มสลาย ชวีหยวนจบบทกวีบทสุดท้ายชื่อฮว๋ายซา แล้วใช้ก้อนหินถ่วงตัวเองจมลงสู่แม่น้ำมี่หลัวเจียง ในวันที่ 5 เดือน 5
หลังจากที่ชวีหยวน จมร่างลงสู่แม่น้ำมี่หลัวเจียงแล้ว ชาวบ้านแถบนั้นพายเรือวนเวียนค้นหาอยู่บนแม่น้ำหลายวัน บางคนพายไปจนถึงทะเลสาบต้งถิงหู แต่ก็ไม่พบซากศพของชวีหยวน
ชาวเรือบางคนเอาข้าวเหนียวปั้นที่เตรียมมาเป็นเสบียงโยนลงไปในแม่น้ำเป็น อาหารปลา เพื่อให้ปลาเหล่านั้นกินอิ่มแล้วไม่มาทำร้ายซากศพของชวีหยวน มีผู้เฒ่าคนหนึ่งเทเหล้ากำมะถันลงไปในน้ำเพื่อมึนเมาพวกสัตว์น้ำ จะได้ไม่มาทำร้ายซากศพของชวีหยวนเช่นกัน
จากนั้นในวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ชาวบ้านในบริเวณนั้นจะทำการรำลึกถึงชวีหยวนด้วยการพายเรือบนแม่น้ำมี่หลัวเจียง โยนข้าวเหนียวปั้นและเทเหล้ากำมะถัน ก่อเป็นประเพณีแข่งเรือมังกร กินขนมจ้งจื่อ ดื่มเหล้ากำมะถันในวันเทศกาลตวนอู่
พูดถึงการเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายๆ กำปั้นห่อด้วยใบไผ่ที่เรียกกันว่าจ้งจื่อ มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นคงยากที่จะระบุชัดได้ เป็นวิธีการพกข้าวห่อของคนสมัยโบราณ
จ้งจื่อ มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเอาข้าวเหนียวผสมน้ำด่าง ห่อด้วยใบไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ นึ่งสุกแล้วมีสีอมเหลืองรสกร่อยๆ เมือกๆ เรียกว่า จีจ้ง รสชาติไม่ดีนัก เวลากินต้องจิ้มน้ำตาล ชนิดนี้กินเพื่อล้างท้องฆ่าเชื้อโรค เนื่องจากเดือน 5 อากาศร้อนจัดมีโรคระบาดชุก คนจีนเชื่อกันว่าด่างสามารถล้างท้องและฆ่าเชื้อโรคได้
ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือบะจ่างที่นิยมในบ้านเรา ส่วนใหญ่นิยมใส่ไส้พุทรา เม็ดบัว ถั่วลิสง เนื้อหมู ถ้าเป็นของคนกวางตุ้งจะใช้ใบบัวห่อเป็นรูปกระทง แทนที่จะห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบไผ่ แต่ส่วนผสมและการปรุงรสก็จะคล้ายๆ กัน
ปัจจุบันประเพณีเทศกาลตวนอู่ ได้เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางถึงนานาประเทศ และบะจ่าง ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลตวนอู่ นอกจากนี้ในอดีตยังเป็นสัญลักษณ์การขอแต่งงานต่อหญิงสาวของชายหนุ่มอีกด้วย
ขอบพระคุณข้อมูลจาก zhongtai.org
โครงการอาสาดิกชันนารี จีน-ไทย ไทย-จีน
图片来自
baike.so.com
www.154155.com
bj.bendibao.com
yule.sohu.com
chaiwan-dragonboat.yolasite.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น