จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng)
หรือ ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์
จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน
ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ
ขงเบ้ง มีชื่อจริงว่าจูกัดเหลียง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูกัดฟ่ง ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูกัดจิ้น จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต คุณธรรม ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยโจวผิง ซุยเป๋ง และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับGuan Zhongขวันต๋งและYue Yiงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับเจียงไท่กง คนตกปลาอายุร่วม 80 ผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีเป็นอย่างมาก
จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว
จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่เล่าปี่ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจนกระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคนอาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น
เมื่อจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกับเล่าปี่ ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ดูแลและให้การเคารพนับถือเช่นอาจารย์ ทำให้จูกัดเหลียงมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อจูกัดเหลียงได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการใช้ไฟทำลายทัพของแฮหัวตุ้น แม่ทัพเอกของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว และโจหยิน จูกัดเหลียงก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
ข้อมูล: วิกิพีเดีย
ภาพ: baidu.tupian.com
จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน
ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ
ขงเบ้ง มีชื่อจริงว่าจูกัดเหลียง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูกัดฟ่ง ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูกัดจิ้น จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต คุณธรรม ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยโจวผิง ซุยเป๋ง และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับGuan Zhongขวันต๋งและYue Yiงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับเจียงไท่กง คนตกปลาอายุร่วม 80 ผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีเป็นอย่างมาก
จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว
จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่เล่าปี่ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจนกระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคนอาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น
เมื่อจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกับเล่าปี่ ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ดูแลและให้การเคารพนับถือเช่นอาจารย์ ทำให้จูกัดเหลียงมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อจูกัดเหลียงได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการใช้ไฟทำลายทัพของแฮหัวตุ้น แม่ทัพเอกของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว และโจหยิน จูกัดเหลียงก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
ข้อมูล: วิกิพีเดีย
ภาพ: baidu.tupian.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น