中国的传统服饰 เสื้อผ้าจีนโบราณ
ทุกๆ ชนชาติมีเสื้อผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ประเทศจีนเองก็มีเสื้อผ้าโบราณเช่นเดียวกัน
เสื้อผ้าชาวจีนถึงจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจในสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช = คริสต์ศักราช 220) ในช่วงนี้กระบวนการทอผ้า การย้อม การเย็บปักถักร้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการประดับตกแต่งเสื้อผ้าจีน ต่อมาในแต่ละราชวงศ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเอกลักษณ์ของเสื้อผ้าตามแบบฉบับของตน
เสื้อผ้าจีนในสมัยโบราณคือเครื่องบ่งบอกถึงสถานะ ใช้แสดงถึงสถานะทางการเมืองและสังคมของแต่ละบุคคล ซึ่งมีกฏเกณฑ์และข้อจำกัดในเรื่องเสื้อผ้า รูปแบบ สี และวิธีการตัดเย็บ ทุกคนจะมีสถานะแน่ชัดจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ตั้งแต่จักรพรรดิไปจนถึงชาวนาผู้ยากไร้ และไม่มีผู้ใดสามารถก้าวข้ามสิทธิของตนเองไปได้ ดังเช่น สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสีของแผ่นดิน ดังนั้นการสวมใส่เสื้อผ้าสีเหลือง จึงหมายถึง “ผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินและปกครองประเทศ” ด้วยเหตุนี้ เสื้อผ้าสีเหลืองจึงสามารถใส่ได้เฉพาะจักรพรรดิองค์เดียวเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม คนธรรมดาสามัญได้รับการอนุญาตให้ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าลินิน และย้อมเป็นโทนสีน้ำตาลซึดๆ เท่านั้น
กี่เพ้า เสื้อแจ็กเกตแบบจีน และเสื้อคลุมยาว
เสื้อผ้าของจีนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปัจจุบันคือ กี่เพ้า 旗袍 (qí páo – ฉีผาว) และเสื้อแจ็กเกตแบบจีน กับเสื้อคลุมยาว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เสื้อคลุมยาวแบบจีน 长袍马褂 (cháng páo mă guà – ฉางผาวหม่ากว้า) จากการศึกษาว่าชาวจีนเคยแต่งตัวอย่างไรนั้น ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมทั่วไปของชาวจีนมากยิ่งขึ้น
กี่เพ้าปรากฏครั้งแรกช่วงแมนจูรุกรานจีนในศตวรรษที่ 17 เวลานั้นผู้หญิงทุกคนถูกบังคับให้สวมกี่เพ้า ช่วงแรกชุดกี่เพ้าจะเรียบง่าย หลวม และแตกต่างจากปัจจุบันมาก แต่เมื่อถึงปลายสมัยราชวงศ์ชิง (1644 – 1911) แขนเสื้อและเอวของกี่เพ้าแคบลง
การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของชุดกี่เพ้าเกิดขึ้นในช่วงปี คศ. 1940 – 1949 เพราะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ชุดกี่เพ้ามีขนาดเล็กลงเพื่อเน้นสัดส่วนของผู้หญิงมากขึ้น ปัจจุบันผู้หญิงทั่วโลกนิยมใส่ชุดกี่เพ้าในพิธีการต่างๆ และมักจะใช้เป็นชุดราตรีและชุดแต่งงานอีกด้วย
ผู้ชายในสมัยราชวงศ์ชิงจะสวมชุดประจำชาติแบบโบราณ ที่พบเห็นทั่วไปคือ เสื้อแจ๊กเกตแบบจจีน และเสื้อคลุมยาว ซึ่งยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน เนื่องจากได้รับความนิยมจากชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก
ทุกๆ ชนชาติมีเสื้อผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ประเทศจีนเองก็มีเสื้อผ้าโบราณเช่นเดียวกัน
เสื้อผ้าชาวจีนถึงจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจในสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช = คริสต์ศักราช 220) ในช่วงนี้กระบวนการทอผ้า การย้อม การเย็บปักถักร้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการประดับตกแต่งเสื้อผ้าจีน ต่อมาในแต่ละราชวงศ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเอกลักษณ์ของเสื้อผ้าตามแบบฉบับของตน
เสื้อผ้าจีนในสมัยโบราณคือเครื่องบ่งบอกถึงสถานะ ใช้แสดงถึงสถานะทางการเมืองและสังคมของแต่ละบุคคล ซึ่งมีกฏเกณฑ์และข้อจำกัดในเรื่องเสื้อผ้า รูปแบบ สี และวิธีการตัดเย็บ ทุกคนจะมีสถานะแน่ชัดจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ตั้งแต่จักรพรรดิไปจนถึงชาวนาผู้ยากไร้ และไม่มีผู้ใดสามารถก้าวข้ามสิทธิของตนเองไปได้ ดังเช่น สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสีของแผ่นดิน ดังนั้นการสวมใส่เสื้อผ้าสีเหลือง จึงหมายถึง “ผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินและปกครองประเทศ” ด้วยเหตุนี้ เสื้อผ้าสีเหลืองจึงสามารถใส่ได้เฉพาะจักรพรรดิองค์เดียวเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม คนธรรมดาสามัญได้รับการอนุญาตให้ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าลินิน และย้อมเป็นโทนสีน้ำตาลซึดๆ เท่านั้น
กี่เพ้า เสื้อแจ็กเกตแบบจีน และเสื้อคลุมยาว
เสื้อผ้าของจีนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปัจจุบันคือ กี่เพ้า 旗袍 (qí páo – ฉีผาว) และเสื้อแจ็กเกตแบบจีน กับเสื้อคลุมยาว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เสื้อคลุมยาวแบบจีน 长袍马褂 (cháng páo mă guà – ฉางผาวหม่ากว้า) จากการศึกษาว่าชาวจีนเคยแต่งตัวอย่างไรนั้น ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมทั่วไปของชาวจีนมากยิ่งขึ้น
กี่เพ้าปรากฏครั้งแรกช่วงแมนจูรุกรานจีนในศตวรรษที่ 17 เวลานั้นผู้หญิงทุกคนถูกบังคับให้สวมกี่เพ้า ช่วงแรกชุดกี่เพ้าจะเรียบง่าย หลวม และแตกต่างจากปัจจุบันมาก แต่เมื่อถึงปลายสมัยราชวงศ์ชิง (1644 – 1911) แขนเสื้อและเอวของกี่เพ้าแคบลง
การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของชุดกี่เพ้าเกิดขึ้นในช่วงปี คศ. 1940 – 1949 เพราะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ชุดกี่เพ้ามีขนาดเล็กลงเพื่อเน้นสัดส่วนของผู้หญิงมากขึ้น ปัจจุบันผู้หญิงทั่วโลกนิยมใส่ชุดกี่เพ้าในพิธีการต่างๆ และมักจะใช้เป็นชุดราตรีและชุดแต่งงานอีกด้วย
ผู้ชายในสมัยราชวงศ์ชิงจะสวมชุดประจำชาติแบบโบราณ ที่พบเห็นทั่วไปคือ เสื้อแจ๊กเกตแบบจจีน และเสื้อคลุมยาว ซึ่งยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน เนื่องจากได้รับความนิยมจากชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก
ขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ สวัสดีหนีห่าว 7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น