ต้นกำเนิดศิลปะป้องกันตัวของจีน สามารถสืบหาได้ว่า เริ่มมีในช่วงสมัยสังคมดั้งเดิม ขณะที่มนุษย์ใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างกระบี่กระบองเพื่อต่อสู้กับสัตว์ และค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์การปะทะโจมตีป้องกันตัวเรื่อยมา ผู้คนจึงนำเอาท่าทางอย่างการเตะ ต้อย หมัด มวย มาเรียบเรียงลำดับเป็นชุดกระบวนท่าต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ฝึกซ้อม ภายหลังจึงเกิดชุดกระบวนท่าที่แตกต่างกันออกมานับไม่ถ้วน
กังฟู (功夫)กายและใจรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
กังฟูเรียกได้ว่าเป็นศิลปะการต่อสู้จีนอย่างหนึ่ง สามารถแบ่งออกเป็นหลายพรรคและหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น หมัดใต้เท้าเหนือ กระบองใต้หอกเหนือ และยังมีวิทยายุทธเส้าหลิน อู่ตังเหมิน กระบี่ไท้เก๊ก มวยหย่งชุน เป็นต้น
จีนได้ปรากฏผู้ฝึกวิชาศิลปะป้องกันตัวที่โด่งดังขึ้นมากมาย อาทิเช่น ผู้รักชาติในช่วงปลายสมัยราชวงศชิง นามว่า ฮั่วหยวนเจี๋ย (霍元甲) หรือจะเป็น จากซานฟง (张山丰) เจ้าสำนักบู๊ตึ๊ง และบรู๊ซลี (李小龙- หลีเสี่ยวหลง) ดาราจอเงินยักษ์ใหญ่ผู้คิดค้นชุดกระบวนท่าเจี๋ยเฉวียนเต้า
จุดเด่นของศิลปะการต่อสู้แบบจีนอยู่ที่การฝึกฝน ไม่เพียงเพื่อเอาชนะในการประลองเท่านั้น แต่เพื่อให้กายใจรวมเป็นหนึ่งเดียว การฝึกซ้อมแต่ละชุดมีความแตกต่างกัน โดยรวมแล้วประกอบไปด้วย ท่าพื้นฐาน ชุดกระบวนท่า กำลังภายใน กำลังภายนอก ซึ่งใช้การฝึกมือไม้ สายตา ร่างกาย ก้าวย่าง จิตใจ และพละกำลัง เหล่านี้เป็นหลักสำคัญ
ในปัจจุบันสมาคมศิลปะการต่อสู้นานาชาติต้องการส่งเสริมศิลปะการต่อสู้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงแบ่งการแข่งขันศิลปะการต่อสู้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ หมัดยาว หมัดใต้ และมวยไท้เก๊ก ในอนาคตศิลปะการต่อสู้แบบจีนนี้อาจเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในโอลิมปิกก็ได้
ศิลปะการต่อสู้เส้าหลิน (少林功夫)
มวยไท้เก๊ก (太极拳Tàijīquán ไท่จี๋เฉวียน)ไท้เก๊กเป็นศิลปะการต่อสู้อย่างหนึ่งของจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากมวยไท้เก๊กเน้นการฝึกเพื่อบำบัดโรคและรักษาสุขภาพ ทั้งยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน จนทำให้เป็นที่ชื่นชอบและแพร่หลายกันในหมู่คนต่างชาติรวมถึงคนไทย มวยไท้เก๊กนั้นมีทั้งหมด 108 กระบวนท่า เป็นท่ารำที่อ่อนช้อยและวิธีการหายใจ ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบการทำงานของปอดและหัวใจ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
มวยไท้เก๊ก ศิลปะป้องกันตัวถูกบรรจุเข้าในการแข่งขันเอเชียนเกมส์เมื่อปี คศ. 1990 ไม่จำกัดสัญชาติของผู้เข้าแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องแต่งกายจีน
ศิลปะการต่อสู้เส้าหลิน
ตั้งชื่อตามชื่อวัดเส้าหลิน (少林)และวัดแห่งนี้เองก็มีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เล่ากันว่าปรมาจารย์ตั๊กม๊อ (达摩祖师) เป็นผู้คิดค้นศิลปะการต่อสู้เส้าหลินขึ้น เพื่อใช้ในการฝึกฝนจิตใจและร่างกาย ในขณะฝึกฝนนอกจากจะฝึกมือเปล่าแล้ว ยังมีการใช้อาวุธต่างๆ เช่น กระบองหรือกระบี่ เป็นต้น จากนั้นได้แตกแขนงออกเป็นศิลปะการต่อสู้อีกกว่า 100 ชนิด สำหรับพระที่วัดเส้าหลินแล้ว การฝึกฝนไม่ใช่เพียงเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแกร่งเท่านั้น ยังสามารถพัฒนาตนเองและคุณธรรม รวมไปถึงการปกป้องวัดและช่วยเหลือผู้คนอีกด้วย
เครดิต หนังสือการ์ตูน
อ๋อ อย่างนี้นี่เอง ฉลาดรู้ทุกเรื่องของเมืองจีน
สำนักพิมพ์ THONGKASEM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น