แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตัวอักษรจีน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตัวอักษรจีน แสดงบทความทั้งหมด

1/10/2562

ฝึกเขียนศัพท์ HSK 3

สวัสดีค่ะ
วันนี้เรามาหัดคัดคำศัพท์ฺ HSK ระดับ 3 กันดีกว่าค่ะ  วันละ 5 คำ สู้ๆ ค่ะสำหรับเด็กๆ ที่กำลังจะแข่งขันทักษะทางภาษาจีน โดยเฉพาะการแข่งเขียนตามคำบอก
ต้องเขียนให้ถูกต้องตามขั้นตอนด้วยนะคะ วันเอามาก่อน 5 คำค่ะ 认真,周末,回答,复习 และ 客人

1. 认真 จริงจัง, มุ่งมั่น

5/01/2559

คำศัพท์จีนคำว่า "นอกใจ"

นอกใจ มีความหมายตรงกับคำจีนหลายคำดังนี้


有外心 Yǒu wài xīn
起外心 Qǐ wài xīn
存外心 Cún wài xīn

有二心 Yǒu èr xīn
起二心 Qǐ èr xīn
存二心 Cún èr xīn

9/09/2558

ตัวอักษร周 zhōu


ตัวอักษร周 zhōu 
周 นอกจากจะเป็นชื่อสกุลของชาวจีนแล้ว 
ยังเป็นชื่อราชวงศ์ของจีน ซึ่งจี๋ฝ่า (激发 jí fă) ได้สถาปนาขึ้นก่อน คศ. 1066-256 

3/01/2558

คุยกันวันละคำ: 客气 kèqì = เกรงใจ

客气 kèqì เค่อชี่ = เกรงใจ

ตัวอย่างประโยค
1.他对人说话非常客气
     Tā duì rén shuō huà feī cháng kè qì 
     เขาพูดจากับคนอื่นอย่างเกรงใจมาก

2.干吗每次见, 你都显得那么客气
     Gàn má meĭ cì jiàn miàn, nĭ dōu xiăn de nà me kè qì ? 
     ทำไมทุกครั้งที่พบหน้ากัน เธอถึงต้องแสดงความเกรงใจมากขนาดนั้น

3. 我们又不是初次相识,别再说客气啦。
       Wŏmen yòu bùshì chū cì xiāng shí, bié zài shuō kè qì la.
       พวกเราไม่ใช่เพิ่งจะรู้จักกันครั้งแรก  อย่ากล่าวคำเกรงใจอีกเลย



ข้อพึงระวัง 
客气 ในภาษาจีนจะไม่ใช้เป็นกริยา ดังนั้น เมื่อต้องการพูดประโยค “ฉันเกรงใจคุณ”
ห้ามใช้ 我客气你 

เกร็ดน่ารู้ “ความเกรงใจ”เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของสังคมตะวันออก โดยเฉพาะในสังคมอุปภัมภ์ที่ผู้คนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจ และผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน อย่างสังคมจีน-ไทย จึงไม่แปลกที่คนจีนและคนไทยต่างมีคุณสมบัติของการรู้จักเกรงใจผู้อื่น แต่วัฒนธรรมความเกรงใจของทั้งสองชนชาติต่างก็มีส่วนแตกต่างกันตามขนบประเพณีของตน การใช้คำแสดงความเกรงใจจึงแตกต่างกันด้วย 

“เกรงใจ” ในความหมายว่า ไม่อยากให้ผู้อื่นลำบากเพราะตนเอง ภาษาจีนใช้คำว่า 
过意不去 guò yì bú qùหรือ 不好意思 bù hăo yì sī



อ่านหนังสือเอามาแบ่งปัน
_/\_ ขอบพระคุณหนังสือ “พูดจีนได้ดั่งใจ” 
อาศรมสยาม-จีนวิทยา

คุยกันวันละคำ : 牛奶 กับ 奶牛

牛奶 (niùnăi) กับ 奶牛 (năiniú) หนิวไหน่ กับไหน่หนิว 

คำว่า 牛奶 (niùnăi นมวัว) มาจากคำว่า 牛 ซึ่งแปลว่า วัว ประสมกับคำว่า 奶 năi ซึ่งแปลว่า นม 
หากวางตำแหน่งของคำสลับกัน ความหมายก็แตกต่างกัน โดยทั่วไปคำหลักในภาษาจีนจะวางอยู่ข้างหลัง คำขยายจะวางอยู่ข้างหน้า ต่างกับภาษาไทยที่คำขยายจะวางไว้ข้างหลัง

เพราะฉะนั้น 奶牛 จึงแปลว่า วัวนม 
ส่วนคำว่า 牛奶แปลว่า นมวัว




เครดิตหนังสือ คำจีนใช้สนุก 
อาศรมสยาม - จีนวิทยา

คุยกันวันละคำ : 今天天气怎么样?

今天天气怎么样?
jīntiān tiānqì zĕnme yàng?
วันนี้อากาศเป็นอย่างไรบ้าง




今天很热。
jīntiān hĕn rè 
วันนี้ร้อนมาก 

我们一起来玩水吧!
Wŏmen yìqĭ lái wán shuĭ ba!
พวกเรามาเล่นน้ำด้วยกันนะ


词语 cíyŭ คำศัพท์
今天 jīntiān = วันนี้
天气 tiānqì = อากาศ
怎么样 zĕnme yàng = เป็นอย่างไรบ้าง
很 hĕn = มาก

我们 wŏmen = พวกเรา
一起 yìqĭ = ด้วยกัน
来 lái = มา
玩 wán = เล่น
水 shuĭ = น้ำ

สภาพอากาศได้แก่
热 rè = ร้อน
冷 lĕng = หนาว
暖和 nuăn huo = อบอุ่น

有点儿 yŏu diănr  = มีบ้างเล็กน้อย 
เช่น 有点儿热 yŏu diănr rè ร้อนเล็กน้อย
有点儿冷 yŏu diănr lĕng = หนาวเล็กน้อย


太…..了 tài……le = มาก.....เลย
เช่น  太热了  tài rè le = ร้อนมากเลย
太冷了 tài lĕng le = หนาวมากเลย

ใช้คำว่า 老 ให้ถูกกาละเทศะ

ใช้คำว่า ให้ถูกกาลเทศะอย่างไร
การที่ชาวจีนทักทายกันโดยใช้คำเรียกแซ่แทนชื่อ ด้วยการใช้คำว่า 老 หรือ 小 นำหน้าแซ่นั้น 老 จะใช้เรียกผู้ที่อาวุโสมากกว่า ส่วน 小 จะใช้เรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้พูดเป็นหลัก 



ตัวอย่างเช่น

A: 你好!张在吗?
Nĭ hăo! Lăo Zhāng zài ma?
สวัสดีครับ คุณจางอยู่ไหมครับ?

B: 啊! 哪位张呢?
A! Nă wèi lăo Zhāng ne?
อืม..คุณจางคนไหนครับ

A: 哦! 你家有几个张啊?
O! Nĭ jiā yŏu jĭ gè lăo Zhāng a?
เอ่อ....ที่บ้านคุณมีคุณจางกี่คนครับ

B: 两个,爷爷和爸爸, 而我就是小张.
Liăng gè, yéye hé bàba, ér wŏ jiù shì xiăo Zhāng.
สองคนครับ คุณปู่กับคุณพ่อ ส่วนผมก็คือเสี่ยวจางไงครับ




เครดิต หนังสือ คำจีนใช้สนุก
อาศรมสยาม – จีนวิทยา

สำนวนจีนเกี่ยวกับตัวเลข:一心一意 รักเดียวใจเดียว

สำนวน 一心一意 (yìxīnyíyì) อี้ซินอี๋อี้
และ 三心二意 (sānxīnèryì) ซานซินเอ้อร์อี้



ตัวอักษรจีน:เรื่องของ 开


开 (kāi) ไค แปลว่า เปิด/ขับ
开车KāI chē ขับรถ
开汽车 kāi qì chē ขับรถยนต์
开飞机 kāi fēi jī ขับเครื่องบิน
开门 kāi mén เปิดประตู
开锁 kāi suŏ เปิดกุญแจ
开玩笑 kāi wán xiào ล้อเล่น, พูดเล่น
打开书 dă kāi shū เปิดหนังสือ

6/12/2557

เรื่องของ 出


出 chū ชู = ออก
出去 chū qù ออกไป
出来 chū lái ออกมา
出生 chū shēng  เกิด เช่น 我出生在泰国 ฉันเกิดที่เมืองไทย
出口 chū kŏu ทางออก คำนี้เจอบ่อยๆ ที่ป้ายหน้าประตูทางออกต่างๆ และมักจะมีภาษาอังกฤษนำมาก่อน เช่น Exit 出口
出入 chū rù เข้าและออก เช่น ในคำอวยพร “出入平安 chū rù ping ān”  เข้าและออกโดยสวัสดิภาพ (ปลอดภัยทั้งไปทั้งกลับ)
出发 chū fā ออกเดินทาง
出门 chū mén ออกจากบ้าน  เราไม่ใช้ 出家 chū jiā นะคะ ถึงแม้ 出 จะแปลว่า ออก และ 家 จะแปลว่า บ้าน เพราะคำว่า 出家 chū jiā  หมายถึง การออกบวช ค่ะ

6/13/2556

ตัวอักษร “落”


ตัวอักษร “落”
อักษรตัวนี้ปกติ อ่านออกเสียงว่า luò ลั่วะ หมายถึง ตกลง หล่นลง ร่วงลง
(เป็นอาการตกลงมาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ)
เช่น  落泪  luò leì ลั่วะเล่ย = น้ำตาร่วง  
太阳落山了 Tàiyáng luò shān le ไท่หยางลั่วะซานเลอ = ตะวันตกดินแล้ว
叶子落在地上 Yé zi luò zài dì shang  เย๋จึลั่วะไจ้ตี้ซ่าง =  ใบไม้ร่วงลงบนพื้น

ความหมายอื่นๆ เช่น
落笔 luò bĭ ลั่วะปี่ = ขยับปากกาเขียน เริ่มเขียน เริ่มวาด ลงมือเขียน ลงมือวาด
落泊 luòbó ลั่วะป๋อ = ตกอับ อับจน ตกต่ำ ยากจน
落发 luòfà ลั่วะฟ่า = โกนผมบวชเป็นพระ ปลงผม

อักษร 落 ยังสามารถอ่านออกเสียงอื่นได้อีกว่า là ล่า และความหมายก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามรูปประโยคด้วย ดังนี้

1. มีความหมายว่า “ลืมทิ้งไว้”  เช่น 我的包落在出租车上了 Wǒ de bāo là zài chūzūchē shàng le
    หว่อเตอเปาล่าไจ้ชูจูเชอซ่างเลอ = ฉันลืมกระเป๋าทิ้งไว้ในรถแท็กซี่


2.มีความหมายว่า รั้งท้าย (ตามไม่ทัน) เช่น 我不想落在后面 Wǒ bù xiăng là zài hòu miàn
   หว่อปุ้เสี่ยงล่าไจ้โฮ่วเมี่ยน = ฉันไม่อยากรั้งอยู่ท้ายแถว (หมายถึง ตามคนอื่นเขาไม่ทัน)
   谁都不愿意落在后面 Sheí dōu bù yuàn yì là zài hòu miàn เสยโตวปุ้ย่วนอี้ล่าไจ้โฮ่วเมี่ยน
   = ใครๆ ก็ไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง  

3. หมายถึง ขาดไป น้อยไป เช่น   这个句子落了一个字  Zhè gè jù zi là lē yī gè zhì 
    เจ้อเก้อจวี้จึ ล่าเลออิ๊เก้อจื้อ = ประโยคนี้ขาดอักษรไปหนึ่งตัว
 


                                                                                                                 在此非常感谢旺老师

6/10/2556

ตัวอักษร 女

ตัวอักษร 女




女 nǚ อ่านว่า หนวี่ (ออกเสียง น.หนูกับ ว.แหวนควบกัน)
女 เป็นอักษรภาพคนนั่งคุกเข่าไขว้แขน หมายถึง ผู้หญิง
ตัวหนังสือที่มีอักษร 女 เป็นส่วนประกอบด้านซ้าย
จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับผู้หญิง เช่น

 妈 mā มา = แม่
 姐 jiě เจี่ย = พี่สาว
 妹 mèi เม่ย = น้องสาว
 奶 năi ไหน่ = นม
 妇 fù ฟู่ = ผู้หญิง
 嫂 săo เส่า = พี่สะใภ้

5/29/2556

อักษรจีน 雨


ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวันเลยนะคะ
ฝนตกภาษาจีนกลางเราพูดว่า 下雨 xià yŭ เสี้ยอวี่ ค่ะ

ขอให้แฟนเพจทุกท่านรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
คำว่า ฝน ภาษาจีนใช้คำว่า 雨 yŭ อวี่
ตัวอักษร 雨 เป็นอักษรภาพ เกิดจากการวาดภาพจากของจริงอย่างชัดเจน

เรามาลองสังเกตุตัวอักษร 雨 ดู เหมือนกับมีหลังคาบ้าน มีหน้าต่างสองบาน และมีน้ำฝนหยดอยู่ สี่จุดตรงบานหน้าต่างเลยนะคะ

ตัวอักษรตัวนี้ ยังทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่อยู่ด้านบน และด้านล่างของตัวหนังสืออื่นๆ อีกด้วย ซึ่งจะช่วยบ่งบอกความหมายที่ใกล้เคียงกับ ฝน หรือสภาพอากาศ เช่น
 

雷 léi เหลย - ฟ้าร้อง
露 lù ลู่ - น้ำค้าง
雹 báo เป้า - ลูกเห็บ
雪 xuĕ เสี่ยะ - หิมะ
雾 wù อู้ - หมอก
零 líng หลิง - ฝนโปรย, เศษ, ศูนย์
霜 shuāng ซวง - น้ำค้างแข็ง

漏 lòu โล่ว - รั่ว

需 xū ซวี - ต้องการ
 


ขอขอบพระคุณหนังสือ
 "รู้เรียนเขียนจีน"
ของอาจารย์ เหยิน จิ่งเหวิน ค่ะ

4/12/2556

ตัวอักษรจีน


ตัวอักษรจีนมีสองแบบ คืออักษรแบบดั้งเดิม (繁体字 – Fántĭzì)และแบบใหม่ (简体字 - Jiăntĭzì)
ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า ตัวเต็มกับตัวย่อ
อักษรจีนแบบดั้งเดิม (繁体字 ฝานถี่จื้อ)เรียกกันทั่วไปว่า เหล่าจื้อ (老字) ขีดของตัวอักษรมีมากกว่าแบบตัวย่อ อักษรดั้งเดิมนั้นมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อย่างแน่นแฟ้น แยกออกจากกันไม่ได้
เนื่องจากขีดของตัวอักษรดั้งเดิมนั้นเยอะมาก แต่เพื่อปรับเปลี่ยนให้เขียนและจำง่ายขึ้น ในปี คศ. 1978 หลังจากจีนได้เปิดประเทศ จึงได้เสริมให้ใช้อักษรจีนแบบย่ออย่างเต็มรูปแบบ และยกเลิกการใช้ตัวอักษรแบบดั้งเดิม แต่ว่าในไต้หวันและฮ่องกง สองพื้นที่นี้ยังคงใช้ตัวอักษรจีนแบบดั้งเดิมอยู่



ขอบพระคุณรูปภาพจาก เฟสบุ๊คแฟนเพจสามก๊กวิว

2/17/2556

喜糖 และ 喜酒




吃喜糖 (chī xǐ táng),喝喜酒 (hē xǐ jiǔ) เกี่ยวข้องกับการแต่งงานอย่างไร

喜(xǐ) หมายถึง (เรื่อง) น่ายินดี โดยมากจะใช้กับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน หรือเรื่องที่สมควรแก่การเฉลิมฉลอง

喜糖 (xǐ táng) จึงหมายถึง ของหวานประเภทลูกอม ลูกกวาด ซึ่งคู่บ่าวสาวชาวจีนนิยมแจกให้กับญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งที่มาและไม่ได้มาร่วมในงานพิธีมงคลสมรส

ส่วน 喜酒 (xǐ jiǔ) นั้นจะหมายถึง เหล้ามงคล ซึ่งเป็นเหล้าที่ใช้เลี้ยงแขกในพิธีแต่งงาน ฉะนั้นในภาษาจีน 吃喜糖 และ 喝喜酒 จึงหมายถึงการแต่งงานได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น

丽丽 : 天天,什么时候吃你的喜糖,别忘了跟我说啊!
Lì Li : Tiān tiān, shén me shí hòu chī nǐ de xǐ táng, bié wàng le gēn wŏ shuō a!
ลี่ลี่   : เทียนเทียน เมื่อไหร่เธอจะแต่งงาน อย่าลืมบอกฉันนะ

天天        :  当然。你呢?那我什么时候喝你的喜酒呢?
Tiān Tiān:  Dāng rán.  Nǐ ne? Nà wŏ shén me shí hòu hē nǐ de xǐ jiǔ ne?
เทียนเทียน: แน่นอนอยู่แล้ว แล้วเธอหล่ะ เมื่อไหร่ฉันจะได้ไปงานแต่งงานของเธอล่ะ



เครดิต
หนังสือ "คำจีนใช้สนุก 有趣的词语"
โดยอาศรมสยาม-จีนวิทยา

12/21/2555

ตัวอักษร 吃


吃 (chī) เรื่องกินเรื่องใหญ่

คำศัพท์เป็นผลผลิตทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามผู้ใช้ภาษา นอกจากจะเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์แล้ว เรายังสามารถเรียนรู้เกร็ดวัฒนธรรมจากวิวัฒนาการทางภาษาผ่านทางคำศัพท์ได้
คำศัพท์ในภาษาจีนก็เช่นกัน เช่น 吃 (chī) แปลว่า “กิน” เป็นกริยา หมายถึง การนำอาหารเข้าปากเคี๊ยวแล้วกลืนลงท้อง ต่อมารวมความหมายไปถึง “การดื่ม” ด้วย เช่น

เด็กทารกเกิดมาต้องกินนม (吃奶 chī năi)
พอโตขึ้นเมื่อหิวก็ต้องกินข้าว (吃饭chī fàn)
โตแล้วเริ่มดื่มเหล้าก็ต้องกินกับแกล้ม (吃菜chī cài)
บางครั้งเบื่อข้าวก็อาจจะหันไปกิน ซาลาเปา (吃包子chī bāo zi) กินก๋วยเตี๋ยว (吃粿条)
ที่สำคัญ เมื่อป่วยก็ต้องกินยา (吃药chī yào) เป็นต้น

ดูไปแล้วคำว่า 吃 เหมือนจะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ง่าย ทว่าภายหลังมีการนำคำนี้ไปผสมกับคำอื่นๆ ใช้ในเหตุการณ์หรือกรณีต่างๆ ในรูปของสำนวนบ้าง คำสแลงบ้าง ศัพท์ใหม่บ้าง ทำให้คำว่า “吃” นั้นมีความหมายและนัยมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องมึความหมายว่า “กิน” เสมอไป
ในกรณีชายมีพฤติกรรมชอบลวนลามเอาเปรียบผู้หญิงอาจเรียกว่า 吃豆腐 (chī dòu fǔ)
ส่วนอาการหึงหวงของแฟนหรือคู่รักเรียกว่า 吃醋 (chī cù)
หากใครทำการค้าแล้วตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเรียกว่า 吃亏 (chī kūi)

พอรู้ว่าเสียเปรียบปุ๊บ เขาอาจตกใจจนสะดุ้ง 吃惊 (chī jīng) ต้องรีบสำรวจความเสียหาย
หากเสียหายไม่มาก เรียกว่ายังพอรับไหว 吃得消 (chī de xiāo)
แต่ถ้าเสียหายมากมายมหาศาลจน ไม่อาจรับได้ 吃不消 (chī bú xiāo) ก็อาจยื่นฟ้องศาล ทำให้คู่ค้าจอมเอาเปรียบคนนั้น ตกเป็นจำเลยในคดีความ 吃官司 (chī guān sī) ก็ได้
กล่าวโดยทั่วไป เมื่อมีการสร้างคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นแล้วใช้ง่าย เข้าใจง่าย คำนั้นก็มักจะถูกนำมาใช้บ่อยๆ และใช้ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นอีก เช่น
เด็กที่ไม่สนใจเรียนและสอบได้คะแนนเป็นศุนย์ เรียกว่า 吃鸭蛋 (chī yā dàn)
เมื่อโตขึ้นเขาไม่สามารถหางานทำได้ จนตัวเองได้รับความลำบากเรียกว่า 吃苦 (chī kǔ)
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่สามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ก็ต้องกลับบ้านไปพึ่งพาพ่อแม่
เรียกว่า 吃老(chī lăo)
ถ้าขัดสนเงินทองถึงขั้นไม่มีเงินในกระเป๋าเลย เรียกว่า 手头吃紧 (shŏu tóu chī jĭn)
แต่ถ้าวันๆ ไม่ทำงาน แล้วทำตัวเป็นกาฝาก พฤติกรรมในลักษณะนี้ชาวบ้านจะตำหนิว่า
吃白饭 (chī bái fàn)
กรณีจะไปกู้ยืมเงินใคร เมื่อไปหาเขาที่บ้านแล้วไม่พบ หรือเจ้าของบ้านตั้งใจปิดประตูใส่หน้า
เรียกว่า 吃闭门羹 (chī bì mén gēng)



1. 吃หมายถึง ได้รับผลประโยชน์ เช่น
    吃差价 (chī chā jià = กินส่วนต่าง), 吃回扣 (chī huí kòu = กินเปอร์เซนต์)
    吃官反 (chī guān fàn = รับราชการ), 吃利息 (chī lì xí = กินดอกเบี้ย) เป็นต้น 

2. 吃 หมายถึง อาศัยพึ่งพิง เช่น 吃老本 (chī lăo bĕn = กินทุนเก่า),
    吃救济 (chī jiù jì = กินเงินสงเคราะห์), 吃劳保 (chī lăo băo = กินเงินสวัสดิการแรงงาน)

3. 吃 หมายถึง เดาใจผู้อื่น เช่น 吃得准 (chī de zhǔn = เดาใจถูก),
    吃不准 (chī bù zhǔn = เดาใจไม่ถูก), 吃得透 (chī de tòu = เดาใจถูก),
    吃不透 (chī bù tòu = เดาใจไม่ถูก) เป็นต้น

4. 吃 หมายถึง ขจัดศรัตรู หรือฝ่ายตรงข้าม เช่น 吃掉对方一个棋子
    (chī diào dùi fāng yī gè qí zǐ = กินหมากของฝ่านตรงข้ามไปหนึ่งเม็ด) เป็นต้น
5. 吃 หมายถึง ต้องใช้แรงมาก เผาผลาญพลังงานมา เช่น
    吃力 (chī lì = กินแรง), 吃劲 (chī jīn = กินแรง) เป็นต้น

6. 吃 หมายถึง โดนลงโทษเมื่อละเมิดกฏเกณฑ์หรือกติกา เช่น
    吃黄牌 (chī huáng pái = โดนใบเหลือง),
    吃红牌 (chī hóng pái = โดนใบแดง) เป็นต้น

7. 吃 หมายถึง เป็นที่ต้อนรับ หรือได้รับความนิยม เช่น 吃香 (chī xiāng = ได้รับความนิยม),
    吃得开 (chī de kāi = ได้รับการยอมรับ),
    吃不开 (chī bù kāi = ไม่ได้รับการยอมรับ) เป็นต้น


หมายเหตุ
คำว่า 粿条 (guŏ tiáo = ก๋วยเตี๋ยว) เป็นคำที่ใช้กันในหมู่ชาวจีนแต้จิ๋วที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย “ก๋วย” เขียนเป็น 粿เป็นคำโบราณที่ออกเสียงตามสำเนียงแต้จิ๋ว ซึ่งไม่มีอยู่ในพจนานุกรมภาษาจีนกลางฉบับปัจจุบัน แต่ในพจนานุกรมหลวงที่ใช้กันในยุคจักรพรรดิ์คังซีได้ระบุไว้ว่า 粿 เป็นคำเรียกอาหารที่ผลิตจากแป้งข้าวจ้าว



เครดิต:หนังสือ คำจีนใช้สนุก 有趣的词语 โดยอาศรมสยาม-จีนวิทยา

建议 โพสต์แนะนำ

专业英语-汉语 1 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 1 [ศัพท์จิตวิทยา]

专业英语-汉语 1 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 1 Psychology:n. 心理学 จิตวิทยา mind:n 心理;心灵,精神 จิตใจ, จิต soul:n. 灵魂 วิญญาณ, จิตวิญญาณ, ดวงวิญญาณ beha...