12/21/2555

ตัวอักษร 吃


吃 (chī) เรื่องกินเรื่องใหญ่

คำศัพท์เป็นผลผลิตทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามผู้ใช้ภาษา นอกจากจะเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์แล้ว เรายังสามารถเรียนรู้เกร็ดวัฒนธรรมจากวิวัฒนาการทางภาษาผ่านทางคำศัพท์ได้
คำศัพท์ในภาษาจีนก็เช่นกัน เช่น 吃 (chī) แปลว่า “กิน” เป็นกริยา หมายถึง การนำอาหารเข้าปากเคี๊ยวแล้วกลืนลงท้อง ต่อมารวมความหมายไปถึง “การดื่ม” ด้วย เช่น

เด็กทารกเกิดมาต้องกินนม (吃奶 chī năi)
พอโตขึ้นเมื่อหิวก็ต้องกินข้าว (吃饭chī fàn)
โตแล้วเริ่มดื่มเหล้าก็ต้องกินกับแกล้ม (吃菜chī cài)
บางครั้งเบื่อข้าวก็อาจจะหันไปกิน ซาลาเปา (吃包子chī bāo zi) กินก๋วยเตี๋ยว (吃粿条)
ที่สำคัญ เมื่อป่วยก็ต้องกินยา (吃药chī yào) เป็นต้น

ดูไปแล้วคำว่า 吃 เหมือนจะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ง่าย ทว่าภายหลังมีการนำคำนี้ไปผสมกับคำอื่นๆ ใช้ในเหตุการณ์หรือกรณีต่างๆ ในรูปของสำนวนบ้าง คำสแลงบ้าง ศัพท์ใหม่บ้าง ทำให้คำว่า “吃” นั้นมีความหมายและนัยมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องมึความหมายว่า “กิน” เสมอไป
ในกรณีชายมีพฤติกรรมชอบลวนลามเอาเปรียบผู้หญิงอาจเรียกว่า 吃豆腐 (chī dòu fǔ)
ส่วนอาการหึงหวงของแฟนหรือคู่รักเรียกว่า 吃醋 (chī cù)
หากใครทำการค้าแล้วตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเรียกว่า 吃亏 (chī kūi)

พอรู้ว่าเสียเปรียบปุ๊บ เขาอาจตกใจจนสะดุ้ง 吃惊 (chī jīng) ต้องรีบสำรวจความเสียหาย
หากเสียหายไม่มาก เรียกว่ายังพอรับไหว 吃得消 (chī de xiāo)
แต่ถ้าเสียหายมากมายมหาศาลจน ไม่อาจรับได้ 吃不消 (chī bú xiāo) ก็อาจยื่นฟ้องศาล ทำให้คู่ค้าจอมเอาเปรียบคนนั้น ตกเป็นจำเลยในคดีความ 吃官司 (chī guān sī) ก็ได้
กล่าวโดยทั่วไป เมื่อมีการสร้างคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นแล้วใช้ง่าย เข้าใจง่าย คำนั้นก็มักจะถูกนำมาใช้บ่อยๆ และใช้ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นอีก เช่น
เด็กที่ไม่สนใจเรียนและสอบได้คะแนนเป็นศุนย์ เรียกว่า 吃鸭蛋 (chī yā dàn)
เมื่อโตขึ้นเขาไม่สามารถหางานทำได้ จนตัวเองได้รับความลำบากเรียกว่า 吃苦 (chī kǔ)
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่สามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ก็ต้องกลับบ้านไปพึ่งพาพ่อแม่
เรียกว่า 吃老(chī lăo)
ถ้าขัดสนเงินทองถึงขั้นไม่มีเงินในกระเป๋าเลย เรียกว่า 手头吃紧 (shŏu tóu chī jĭn)
แต่ถ้าวันๆ ไม่ทำงาน แล้วทำตัวเป็นกาฝาก พฤติกรรมในลักษณะนี้ชาวบ้านจะตำหนิว่า
吃白饭 (chī bái fàn)
กรณีจะไปกู้ยืมเงินใคร เมื่อไปหาเขาที่บ้านแล้วไม่พบ หรือเจ้าของบ้านตั้งใจปิดประตูใส่หน้า
เรียกว่า 吃闭门羹 (chī bì mén gēng)



1. 吃หมายถึง ได้รับผลประโยชน์ เช่น
    吃差价 (chī chā jià = กินส่วนต่าง), 吃回扣 (chī huí kòu = กินเปอร์เซนต์)
    吃官反 (chī guān fàn = รับราชการ), 吃利息 (chī lì xí = กินดอกเบี้ย) เป็นต้น 

2. 吃 หมายถึง อาศัยพึ่งพิง เช่น 吃老本 (chī lăo bĕn = กินทุนเก่า),
    吃救济 (chī jiù jì = กินเงินสงเคราะห์), 吃劳保 (chī lăo băo = กินเงินสวัสดิการแรงงาน)

3. 吃 หมายถึง เดาใจผู้อื่น เช่น 吃得准 (chī de zhǔn = เดาใจถูก),
    吃不准 (chī bù zhǔn = เดาใจไม่ถูก), 吃得透 (chī de tòu = เดาใจถูก),
    吃不透 (chī bù tòu = เดาใจไม่ถูก) เป็นต้น

4. 吃 หมายถึง ขจัดศรัตรู หรือฝ่ายตรงข้าม เช่น 吃掉对方一个棋子
    (chī diào dùi fāng yī gè qí zǐ = กินหมากของฝ่านตรงข้ามไปหนึ่งเม็ด) เป็นต้น
5. 吃 หมายถึง ต้องใช้แรงมาก เผาผลาญพลังงานมา เช่น
    吃力 (chī lì = กินแรง), 吃劲 (chī jīn = กินแรง) เป็นต้น

6. 吃 หมายถึง โดนลงโทษเมื่อละเมิดกฏเกณฑ์หรือกติกา เช่น
    吃黄牌 (chī huáng pái = โดนใบเหลือง),
    吃红牌 (chī hóng pái = โดนใบแดง) เป็นต้น

7. 吃 หมายถึง เป็นที่ต้อนรับ หรือได้รับความนิยม เช่น 吃香 (chī xiāng = ได้รับความนิยม),
    吃得开 (chī de kāi = ได้รับการยอมรับ),
    吃不开 (chī bù kāi = ไม่ได้รับการยอมรับ) เป็นต้น


หมายเหตุ
คำว่า 粿条 (guŏ tiáo = ก๋วยเตี๋ยว) เป็นคำที่ใช้กันในหมู่ชาวจีนแต้จิ๋วที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย “ก๋วย” เขียนเป็น 粿เป็นคำโบราณที่ออกเสียงตามสำเนียงแต้จิ๋ว ซึ่งไม่มีอยู่ในพจนานุกรมภาษาจีนกลางฉบับปัจจุบัน แต่ในพจนานุกรมหลวงที่ใช้กันในยุคจักรพรรดิ์คังซีได้ระบุไว้ว่า 粿 เป็นคำเรียกอาหารที่ผลิตจากแป้งข้าวจ้าว



เครดิต:หนังสือ คำจีนใช้สนุก 有趣的词语 โดยอาศรมสยาม-จีนวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

建议 โพสต์แนะนำ

专业英语-汉语 1 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 1 [ศัพท์จิตวิทยา]

专业英语-汉语 1 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 1 Psychology:n. 心理学 จิตวิทยา mind:n 心理;心灵,精神 จิตใจ, จิต soul:n. 灵魂 วิญญาณ, จิตวิญญาณ, ดวงวิญญาณ beha...