12/04/2555

敲竹杠:รีดไถเอาเงิน, ตบทรัพย์


คำแสลง 敲竹杠 (qiāozhúgàng) :รีดไถเอาเงิน, ตบทรัพย์




敲[qiāo] แปลว่า เคาะ ส่วน 竹杠[zhúgàng] แปลว่าบ้องไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหาบหาม พบเห็นบ่อยในสมัยก่อน รวมกันแล้วหมายถึง เคาะบ้องไม้ไผ่ แต่คำนี้ใช้เป็นคำแสลงอย่างเดียว หมายความว่า “รีดไถเอาเงิน, หรือตบทรัพย์” ที่มาของคำคำนี้น่าขำไม่น้อย

คำนี้เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย ตอนนั้นอังกฤษขนฝิ่นไปขายที่จีนเป็นจำนวนมาก พวกพ่อค้ารับฝิ่นแล้วก็นำไปขายอีกต่อหนึ่ง ต่อมารัฐบาลจีนเริ่มปราบปรามการค้าฝิ่น ครั้งหนึ่งพ่อค้าคนหนึ่งใช้เรือแอบขนฝิ่นไปขาย โดยเอาฝิ่นซ่อนไว้ในบ้องไม้ไผ่ เมื่อเรือเทียบฝั่งแล้วเจอเจ้าหน้าที่ปราบปรามการค้าฝิ่นลงมาตรวจที่เรือ มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งกำลังสูบกล้องยาเส้นอยู่ พอดียาเส้นหมด ก็เลยเคาะขี้ยาเส้นออก ตอนนั้นอยู่บนเรือ ไปเคาะที่ไหนดีเอ่ย เหลือบเห็นมีบ้องไม้ไผ่กองไว้อยู่ข้างๆ เอ๊ย ไอ้นี่มันแข็งดี ก็เลยเอากล้องยาเส้นไปเคาะปัง ปัง ปัง พ่อค้าตกใจใหญ่ นึกว่าเจ้าหน้าที่ล่วงรู้ความลับหมดแล้ว จึงรีบเอาเงินยัดใส่มือของเจ้าหน้าที่ ไอ้พ่อค้าหัวใสผู้นี้จึงสร้างคำนี้มาให้เราใช้จนถึงทุกวันนี้



เรามักพูดว่า 敲他的竹杠(qiāotādezhúgàng รีดไถเงินจากเขา)
หรือ 敲了一笔竹杠 (qiāoleyībĭzhúgàng รีดไถเงินจำนวนหนึ่ง)

11/21/2555

ตารางสอบ HSK และ HSKK ปี 2013

ตารางสอบวัดระดับภาษาจีนHSK และ HSKK (สอบพูด) ตลอดปี 2013
โดย สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




ครั้งที่            วันที่สอบ                                 ระยะเวลารับสมัคร                      HSKK (สอบพูด)
1                   วันเสาร์ที่ 12 มกราคม             14 พฤศจิกายน – 7 ธันวาคม           ไม่มีสอบ HSKK
2                   วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม          10 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์            จัดสอบ HSKK ด้วย
3                   วันเสาร์ที่ 20 เมษายน             27 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม             ไม่มีสอบ HSKK
4                   วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม     25 มีนาคม - 5 เมษายน                   จัดสอบ HSKK ด้วย
5                   วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน        16 เมษายน - 10 พฤษภาคม            ไม่มีสอบ HSKK
6                   วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม      21 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน           ไม่มีสอบ HSKK
7                   วันเสาร์ที่ 7 กันยายน               1 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม                ไม่มีสอบ HSKK
8                   วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม         19 สิงหาคม - 13 กันยายน                จัดสอบ HSKK ด้วย
9                   วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม          30 กันยายน - 25 ตุลาคม                 จัดสอบ HSKK ด้วย


ตารางสอบ HSKK ในปี 2012
สอบครั้งที่ 1 วันที่ 21 ต.ค. 2555 เวลา 16.30 น. เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 14 ก.ย.2555
สอบครั้งที่ 2 วันที่ 2 ธ.ค. 2555เวลา 16.30 น. เปิดรับสมัครวันที่ 24 ก.ย.– 26 ต.ค.2555
หลักฐานในการสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวนักเรียน 1 ฉบับ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 ใบ


ติดต่อ สถาบันขงจื่อ อาคารสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร. 053-943759 โทรสาร. 053-943760
E-mail :
tik0911@hotmail.co.th
ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.ci.chiangmai.ac.th

11/14/2555

แซ่และชื่อของคนจีน

คนจีน แซ่ (นามสกุล) อยู่ข้างหน้า ชื่ออยู่ข้างหลัง
 
 
ซึ่งกลับกับของคนไทย ควรระมัดระวัง เพราะบางครั้งเราอาจเห็นคนไทยเอาพยางค์ที่สองของชื่อ
(กรณีชื่อมีสองพยางค์) คนจีนมาใช้เป็นแซ่

แซ่ส่วนใหญ่มีหนึ่งพยางค์หรือใช้ตัวหนังสือหนึ่งตัว ส่วนแซ่ที่ใช้สองพยางค์หรือใช้ตัวหนังสือสองตัว
ซึ่งเราเรียกว่านามสกุลพยางค์คู่ (复姓 fù-xìng) นั้นก็พอมีเหมือนกัน แต่ค่อนข้างน้อย เช่น

上官 (Shàng-guān ซั่งกวน),
东方 (Dōng-fāng ตงฟัง),
汪洋 (Wāng-yáng วางหยัง),
欧阳 (Ōu-yáng โอวหยัง),
皇甫 (Huáng-fŭ หวงฝู่),
司马 (Sī-mă ซือหม่า),
诸葛 (Zhū-gĕ จูเก่อ หลายคนคงรู้จักแซ่นี้ เพราะเป็นแซ่ของขงเบ้ง 孔明 Kŏng-míng) ฯลฯ

 
คนนี้ไง มีแซ่สองพยางค์ “ 东方不败” บูรพาไม่แพ้


เป็นที่รู้กันดีว่า แซ่ที่พบเห็นกันมากที่สุด มี 张 (Zhāng จาง), 李 (Lĭ หลี่), 林 (Lín หลิน),
陈 (Chén เฉิน), 王 (Wáng หวัง), 刘 (Liú หลิว), 赵 (Zhào เจ้า), และ 钱 (Qián เฉียน) เป็นต้น
 
ว่ากันว่าปัจจุบันทั่วโลกมีคนแซ่ 张 ประมาณหนึ่งร้อยล้านคน
คนจีนเริ่มใช้แซ่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีก่อน ท่านที่เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของแซ่ อาจพบข้อความว่านานมาแล้ว มีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงส่งพระโอรสไปเป็นเจ้าเมืองที่เมืองเมืองหนี่ง ต่อมาคนแถบนั้นก็ใช้แซ่เดียวกันหมด และถ้าบังเอิญคุณพบว่า แซ่ของตนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพระโอรสไปเป็นเจ้าเมือง ก็อย่าเพิ่งหลงดีใจว่าอั๊วก็มีเชื้อพระวงศ์โว๊ย เพราะแซ่ที่ได้นั้นส่วนใหญ่มาจากชื่อสถานที่หรือชื่อเมือง คนแถบนั้นใช้แซ่เดียวกันหมด
 
สำหรับชื่อของคนจีน จะใช้ตัวหนังสือหนึ่งหรือสองตัวก็ได้ และชื่อส่วนใหญ่มีความหมายชัดเจน หมายความว่าแซ่กับชื่อหรือตัวหนังสือสองตัวของชื่อมีความหมายสัมพันธ์กัน เช่น
 
高山 (Gāo-shān เกาซาน) 高 เป็นแซ่ มีความหมายว่า สูง ส่วน 山 เป็นชื่อ หมายความว่าภูเขา รวมกันแล้วหมายความว่า ภูเขาสูง
 
张京生 (Zhāng Jīng-shēng จางจิงเซิง) 京 ในที่นี้หมายถึง ปักกิ่ง (北京 Bĕi-jīng) ส่วน 生 ในที่นี้หมายถึง เกิด รวมกันแล้วชื่อมีความหมายว่า เกิดที่ปักกิ่ง แต่กรณีนี้ความหมายของแซ่ไม่สัมพันธ์กับความหมายของชื่อ
 
马千里 (Mă Qiān-lĭ หม่าเชียนหลี่) 马 เป็นแซ่ หมายถึง ม้า 千 แปลว่า พัน ส่วน 里 แปลว่า ลี้ (หนึ่งลี้เท่ากับครึ่งกิโลเมตร) รวมกันแล้ว 马千里 จึงมีความหมายว่า ม้าพันลี้ ถือว่าเป็นชื่อที่ตั้งได้ดีมาก คือเข้าใจอาศัยความหมายของแซ่และชื่อมาต่อกัน เพราะว่าในภาษาจีน คำว่าม้าพันลี้ (马千里) ถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนที่มีอนาคตไกล (แต่โดยความเป็นจริงแล้วคงไม่มีม้าพันธุ์ไหน หรือม้าตัวไหน วิ่งได้วันละหนึ่งพันลี้หรือห้าร้อยกิโลเมตร คำนี้เป็นชื่อเปรียบเปรยม้าชั้นเยี่ยมเท่านั้น อย่างเช่นในเรื่องสามก๊ก ม้าของกวนอูก็จัดอยู่ในประเภทม้าพันลี้)
 
 

มีประเพณีเก่าแก่เกี่ยวกับการตั้งชื่อที่น่าสนใจประเพณีหนึ่ง คือ บางตระกูลนิยมกำหนดตัวหนังสือตัวแรกของชื่อให้กับลูกหลานในตระกูลของตน หมายความว่า ลูกหลานรุ่นเดียวกัน ตัวหนังสือตัวแรกของชื่อจะเหมือนกันหมดทุกคน เพราะว่าหมู่บ้านในสมัยก่อนมักเกิดการขยายตัวของครอบครัวเดียวกัน หมู่บ้านหนึ่งก็คือครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่งที่มีเครือญาติโยงใยไปทั่วเกือบทุกครัวเรือน การกำหนดตัวหนังสือตัวแรกของชื่อจะช่วยให้รู้ว่าใครเป็นใครหรือรุ่นไหน ในปัจจุบันประเพณีดังกล่าวยังคงหลงเหลือบ้างในชนบท
ยังมีชื่อของบางคน ถ้าดูจากตัวหนังสือที่ใช้แล้วเหมือนไม่มีความหมายอะไร แต่จริงๆ แล้วอาจมีความหมายแฝงอยู่ก็ได้ คงมีแต่คนตั้งชื่อเท่านั้นที่รู้



ขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ "จุ๊กจิ๊กจอจีน"
เขียนโดยอาจารย์ เหยินจิ่งเหวินค่ะ

10/23/2555

下海: เลิกอาชีพที่ทำอยู่โดยหันมาค้าขาย

下海 (xiàhăi) : เลิกอาชีพที่ทำอยู่โดยหันมาค้าขาย



下 แปลว่า ลง ส่วน 海 แปลว่าทะเล ความหมายปกติของคำว่า 下海 มีหลายอย่าง
1. ลงไปในน้ำทะเล
2. ชาวประมงออกทะเลไปหาปลา
3. นักแสดงงิ้วสมัครเล่นผันตัวเองเป็นนักแสดงงิ้วมืออาชีพ

แต่คำนี้ถูกนำมาใช้เป็นคำแสลงเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว หมายถึง “เลิกอาชีพที่ทำอยู่โดยหันมาค้าขาย” เพราะในสมัยนั้น จีนกำลังเร่งพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น โดยยกฐานะเกาะไหหลำ (海南岛 Hăinándăo) เป็นมณฑลและกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงมีคนจีนจำนวนมากทิ้งอาชีพเก่าที่ทำอยู่ แห่กันไปขุดทองโดยยึดอาชีพค้าขายที่นั่น เนื่องจากเกาะไหหลำอยู่ทะเลจีนใต้ ต้องลงเรือข้ามทะเลไปจึงต้อง
下海 นี่คือที่มาของคำนี้ แต่ทุกวันนี้ใครทิ้งอาชีพเก่าไปค้าขายที่ไหนก็แล้วแต่สามารถเรียกว่า 下海
 เช่น 那位教授也下海经商了 (nàwèijiàoshòuyĕxiàhăijīngshāngle ศาสตราจารย์ท่านนั้นก็หันมายึดอาชีพค้าขายกับเขาเหมือนกัน)

ขอขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ “เรียนจีน อ่านจีน จุ๊กจิ๊กจอจีน เล่ม 2” ฉบับปรับปรุง
เขียนโดยอาจารย์ เหยินจิ่งเหวิน 任景文 อย่าลืมติดตามหามาอ่านเพิ่มเติมได้นะคะ

10/01/2555

包二奶: มีเมียน้อย

คำแสลงในภาษาจีน 包二奶 (bāo’èrnăi)




包二奶 (bāo’èrnăi) : มีเมียน้อย
คำนี้ใหม่เอี่ยมเลย 包 ในที่นี้หมายถึง 包养 (bāoyăng) แปลว่าเลี้ยงดูเพศตรงข้าม (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง) ที่ไม่ใช่คู่สมรสของตนเองในฐานะเมีย ส่วน 二奶 ในที่นี้หมายถึง 二奶奶 (èrnăinai) แปลว่านายหญิงสองคน คือสมัยก่อนผู้ชายบางคนมีภรรยาหลายคน และเลี้ยงดูอยู่ในครอบครัวเดียวกันได้ บางคนอาจมี 三奶奶 (sānnăinai นายหญิงคนที่สาม) หรือมากกว่านั้นก็ได้ ดังนั้นคำว่า 包二奶 จึงหมายถึง “มีเมียน้อย” เช่น 丈夫在外头包二奶,太太还蒙在鼓里呢。(Zhàngfuzàiwàitoubāo’èrnăi tàitaiháiméngzàigŭlĭne สามีมีเมียน้อยอยู่ข้างนอก แต่ภรรยายังงมโข่งอยู่เลย)
ที่บอกว่าคำนี้ใหม่เอี่ยม ไม่ได้หมายความว่าบรรดาตี๋เล็กตี๋ใหญ่เพิ่งนิยมมีเมียน้อย เพียงแต่ว่าก่อนหน้านี้สังคมจีนค่อนข้างเข้มงวดเรื่องนี้ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในสมัยประธานเหมา ไม่ว่าเป็นใคร ถ้าถูกจับว่าแอบมีเมียน้อยจะหมดอนาคตทันทีเลย (บางท่านอ่านแล้วช๊อบชอบ) แต่หลังจากเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ คนจีนมีเสรีภาพมากขึ้น ค่านิยมในหลายด้านเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบัน คนมีสตางค์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเหมือนว่าบรรดาตี๋เล็กตี๋ใหญ่ในจีนเริ่มคึกคักขึ้นมาในเรื่องนี้อีกครั้ง คำใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้จึงตามมาด้วย
อ้อ...ตอนนี้นอกจากคำว่า 包二奶 จะแปลว่ามีเมียน้อยแล้ว
คำว่า 小三 ยังมีความหมายถึง คนที่เป็นเมียน้อยอีกด้วย อันนี้ใหม่เอี่ยมยิ่งกว่า



ขอขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ “เรียนจีน อ่านจีน จุ๊กจิ๊กจอจีน เล่ม 2” ฉบับปรับปรุง
เขียนโดยอาจารย์ เหยินจิ่งเหวิน 任景文 อย่าลืมติดตามหามาอ่านเพิ่มเติมได้นะคะ

建议 โพสต์แนะนำ

สำนวนจีน VS สำนวนไทย Part 5 [W]

สำนวนจีนที่ขึ้นต้นด้วยพินอิน w  挖墙脚  [wāqiángjiǎo]  โค่นล้ม (比喻拆台) 外强中干  [wàiqiángzhōnggān]  แข็งนอกอ่อนใน/ภายนอกดูแข็งแรงแท้จริงแล้วอ่อนแอ ...