แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รอบรู้เรื่องจีน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รอบรู้เรื่องจีน แสดงบทความทั้งหมด

3/01/2558

รู้เรื่องเมืองจีน: ฉางไป๋ซาน (长白山)

ทะเลสาบสวรรค์ ท่ามกลาง ภูเขาหัวขาว ฉางไป๋ซาน (长白山)



ฉางไป๋ซานถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า เป็นต้นกำเนิดของชาวเกาหลี แต่ในปัจจุบันภูเขาฉางไป๋ซานไม่ใช่ของประเทศเกาหลีใต้ และไม่ใช่สถานที่ที่จะเดินทางเข้าไปได้ง่ายๆ พื้นที่ 1 ใน 3 ของภูเขาฉางไป๋ซานเป็นอาณาเขตของประเทศจีน อีก 2 ส่วนเป็นอาณาเขตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือเกาหลีเหนือ 

10/20/2557

เทพนาจา



นาจา หรือ หน่าจา (อังกฤษ: Na Zha, Ne Zha, จีน: 哪吒, พินอิน: Nézhā หรือ Núozhā, ญี่ปุ่น: ナタ太子) เทพเจ้าตามคติความเชื่อของจีน บางตำราเชื่อว่าเป็นบุตรของเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย
เดิมนาจาเป็นเทพที่อยู่บนสวรรค์มีชื่อว่า หลิน จินจื่อ เป็นบุตรของเทพเจดีย์ แต่ด้วยโลกมนุษย์มีปีศาจมาก ทางสวรรค์จึงส่ง หลิน จินจื่อ มาจุติยังโลกมนุษย์ในยุคราชวงศ์ซาง ในตระกูลหลี่ (李) ประสูติเมื่อวันที่ 9 เดือน 9 เป็นบุตรของแม่ทัพหลี่ (หลี่จิ้ง) และ นางฮึ่นสี ขณะที่ตั้งท้องอยู่นั้น แม่ทัพหลี่ ได้ถูกส่งให้ไปออกรบ ประมาณ 1 ปี กับอีก 6 เดือน เมื่อแม่ทัพหลี่กลับมา ภรรยาก็คลอดบุตรพอดี แต่กลับเป็นลูกแก้ว จึงเข้าใจว่าเป็นปีศาจ แม่ทัพหลี่โกรธมาก จึงใช้กระบี่ฟันไปที่ลูกแก้ว เมื่อลูกแก้วแตกก็เห็นเด็กผู้ชายหน้าตาน่ารักนอนอยู่บนผ้าแพร และมีห่วงทองอยู่ที่ตัวด้วย

นาจาในวัยเด็กเป็นเด็กที่ซนมากและไม่กลัวใคร วันหนึ่ง นาจาไปเล่นน้ำทะเล ด้วยเป็นเด็กจึงเอาผ้าเหวี่ยงเล่นที่น้ำ จึงทำให้ใต้บาดาลสะเทือน เจ้าสมุทร จึงสั่งให้ ทหารออกมาดู ก็เห็นเด็กกำลังเล่นน้ำอยู่ จึงเข้าไปขู่ นาจาจึงใช้ผ้าเหวี่ยง เพื่อไล่ให้ไปแต่ปรากฏว่าถูกตัวทหารทำให้ทหารของเจ้าสมุทรตาย ต่อมา ลูกเจ้าสมุทรเห็นว่านานแล้ว ทหารยังไม่มารายงานจึงขึ้นตามมาดูก็เห็นทหารตายอยู่ และมีเด็กกำลังเล่นน้ำอยู่ จึงเข้าไปขู่ แต่ก็ถูกผ้าแพรเหวี่ยงตายเช่นกัน ทหารก็ไปรายงานเจ้าสมุทร เจ้าสมุทรโกรธมาก จึงไปหา แม่ทัพหลี่ และบอกว่าลูกของท่านได้ฆ่าลูกของตน และเจ้าสมุทรจะเอาน้ำทะเล มาถล่มเมือง พอนาจาได้ยินรุ่งเช้า จึงไปเมืองบาดาลและถลกเส้นเอ็นมังกรและเสกมังกรให้เป็นงูเขียว แล้วเดินทางกลับบ้าน

เมื่อกลับถึงบ้าน แม่ทัพหลี่ก็ดุด่านาจาว่าเจ้าสมุทรโกรธมาก และจะถล่มเมือง พระนาจาจึงเอาเส้นเอ็นออกมาให้พ่อดู แล้วบอกว่า เส้นเอ็นนี้เอามาให้พ่อทำเสื้อเกราะ แล้วเจ้าสมุทรก็อยู่ที่ตัว นาจาก็ขว้างงูเขียวออกมา เห็นเป็นเจ้าสมุทร แม่ทัพหลี่โกรธมากจึงดุด่านาจา จนในที่สุด นาจาน้อยใจจึงแล่เนื้อคืนแม่ และแล่กระดูกคืนพ่อ จากนั้นจึงเข้าฝัน บอกให้แม่ทำศาลบูชาให้ แล้วนาจาจะได้ชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ แม่ทัพหลี่ทราบเรื่องก็ตามไปทำลายศาล นาจาจึงโกรธมากและคิดที่จะฆ่าพ่อ

เมื่อนาจาตายไปแล้วจึงหอบวิญญาณของตนไปพบเซียนซือจุน เซียนซือจุนเห็นว่า นาจามีความสามารถในการปราบมารปีศาจ จึงได้ชุบชีวิตให้กับนาจาโดยใช้ก้านบัวแทนกระดูก รากบัวแทนเนื้อ ใยบัวแทนเอ็น และใบบัวแทนเสื้อผ้าอาภรณ์ขึ้นมาใหม่

ดังนั้น รูปลักษณ์ของนาจา จะปรากฏให้เห็นเป็นรูปของเด็กผู้ชายเหยียบวงล้อไฟ มือถือหอกและห่วงเป็นอาวุธ มีอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ปราบมารปีศาจได้ ต่อมาภายหลังเง็กเซียนฮ่องเต้ทรงแต่งตั้งให้เป็น "จงตั๋นหง่วนโส่ย" หรือ "จงตั๋นเหยียนฟู่" (中壇元帥) แม่ทัพแห่งสวรรค์ ทำหน้าที่ปกป้องประตูสวรรค์ เช่นเดียวกับ เอ้อหลางเสิน หรือ เทพสามตา
นาจาในความเคารพและในสื่อร่วมสมัย

ปัจจุบัน นาจาเป็นหนึ่งในเทพเจ้าของจีนที่ชาวจีนรวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีนให้การเคารพนับถือ โดยมีศาลหลายแห่งปรากฏอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น[2]

นาจา ยังปรากฏในบทประพันธ์เรื่อง ไซอิ๋ว อีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ด้วยการเป็นแม่ทัพสวรรค์ที่พ่ายแพ้ต่อหงอคง เมื่อครั้งหงอคงมาอาละวาดที่สวรรค์ เช่นเดียวกับ เอ้อหลางเสิน
เรื่องราวของนาจาได้ถูกสร้างในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายอย่าง

ข้อมูลจาก สารานุกรม วิกิ พีเดีย

9/23/2557

การละเล่นของเด็กจีน


การละเล่นที่เด็กจีนเล่นกันบ่อยๆ เธอรู้จักการละเล่นใดบ้างหรือไม่
丢沙包 diū shā bāo โยนถุงทราย


踢毽子 tī jiàn zi เตะลูกขนไก่
 



老鹰捉小鸡  lăo yīng zhuō xiăo jī งูกินหาง


跳绳 tiào shéng กระโดดเชือก

3/29/2557

中国的传统服饰 เสื้อผ้าจีนโบราณ

中国的传统服饰 เสื้อผ้าจีนโบราณ


ทุกๆ ชนชาติมีเสื้อผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ประเทศจีนเองก็มีเสื้อผ้าโบราณเช่นเดียวกัน

เสื้อผ้าชาวจีนถึงจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจในสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช = คริสต์ศักราช 220)  ในช่วงนี้กระบวนการทอผ้า การย้อม การเย็บปักถักร้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการประดับตกแต่งเสื้อผ้าจีน ต่อมาในแต่ละราชวงศ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเอกลักษณ์ของเสื้อผ้าตามแบบฉบับของตน




เสื้อผ้าจีนในสมัยโบราณคือเครื่องบ่งบอกถึงสถานะ ใช้แสดงถึงสถานะทางการเมืองและสังคมของแต่ละบุคคล ซึ่งมีกฏเกณฑ์และข้อจำกัดในเรื่องเสื้อผ้า รูปแบบ สี และวิธีการตัดเย็บ ทุกคนจะมีสถานะแน่ชัดจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ตั้งแต่จักรพรรดิไปจนถึงชาวนาผู้ยากไร้ และไม่มีผู้ใดสามารถก้าวข้ามสิทธิของตนเองไปได้ ดังเช่น สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสีของแผ่นดิน ดังนั้นการสวมใส่เสื้อผ้าสีเหลือง จึงหมายถึง “ผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินและปกครองประเทศ” ด้วยเหตุนี้ เสื้อผ้าสีเหลืองจึงสามารถใส่ได้เฉพาะจักรพรรดิองค์เดียวเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม คนธรรมดาสามัญได้รับการอนุญาตให้ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าลินิน และย้อมเป็นโทนสีน้ำตาลซึดๆ เท่านั้น


กี่เพ้า เสื้อแจ็กเกตแบบจีน และเสื้อคลุมยาว
เสื้อผ้าของจีนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปัจจุบันคือ กี่เพ้า 旗袍 (qí páo – ฉีผาว) และเสื้อแจ็กเกตแบบจีน กับเสื้อคลุมยาว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เสื้อคลุมยาวแบบจีน 长袍马褂 (cháng páo mă guà – ฉางผาวหม่ากว้า) จากการศึกษาว่าชาวจีนเคยแต่งตัวอย่างไรนั้น ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมทั่วไปของชาวจีนมากยิ่งขึ้น


กี่เพ้าปรากฏครั้งแรกช่วงแมนจูรุกรานจีนในศตวรรษที่ 17 เวลานั้นผู้หญิงทุกคนถูกบังคับให้สวมกี่เพ้า ช่วงแรกชุดกี่เพ้าจะเรียบง่าย หลวม และแตกต่างจากปัจจุบันมาก แต่เมื่อถึงปลายสมัยราชวงศ์ชิง (1644 – 1911) แขนเสื้อและเอวของกี่เพ้าแคบลง

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของชุดกี่เพ้าเกิดขึ้นในช่วงปี คศ. 1940 – 1949 เพราะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ชุดกี่เพ้ามีขนาดเล็กลงเพื่อเน้นสัดส่วนของผู้หญิงมากขึ้น ปัจจุบันผู้หญิงทั่วโลกนิยมใส่ชุดกี่เพ้าในพิธีการต่างๆ และมักจะใช้เป็นชุดราตรีและชุดแต่งงานอีกด้วย
ผู้ชายในสมัยราชวงศ์ชิงจะสวมชุดประจำชาติแบบโบราณ ที่พบเห็นทั่วไปคือ เสื้อแจ๊กเกตแบบจจีน และเสื้อคลุมยาว ซึ่งยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน เนื่องจากได้รับความนิยมจากชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก


ขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ สวัสดีหนีห่าว 7

2/22/2557

相声



相声(xiàngshēng – การสนทนาตลกขบขันของจีน)

คือ การแสดงตลกตามประเพณีดั้งเดิมของจีน ซึ่งอาศัยทักษะ 4 อย่าง ได้แก่ การพูด (说 shuō ซัว)

การเลียนแบบ (学 xué เสวียะ) การหยอกล้อ (逗 dòu โต้ว) และการร้องเพลง (唱 chàng ชั่ง)

相声 สามารถแบ่งก
ารแสดงออกเป็นแบบพูดคนเดียว แบบสนทนาโต้ตอบ และแบบละครสั้น โดยการแสดงแบบสนทนาโต้ตอบเป็นประเภทที่นิยมกันมากที่สุด

ตามประเพณีที่ปฏิบัติมา 相声 จะแสดงเป็นลำดับขั้นตอน คือ เมื่อนักแสดงขึ้นเวที นักแสดงทั้งหลายจะต้องแนะนำตนเอง และคำนับผู้ชมพร้อมทั้งพูดว่า “上台一鞠躬 shàngtái yì jūgōng” (ซั่งไถอี้จวีกง) แล้วการแสดงก็จะเริ่มขึ้น เมื่อการแสดงสิ้นสุดลง นักแสดงจะแจ้งชื่อของตนเองอีกครั้ง โค้งคำนับ พร้อมทั้งพูดว่า “下台一鞠躬 xiàtái yì jūgōng (เสี้ยไถอี้จวีกง)

เนื่องจาก 相声 จัดเป็นศิลปะพื้นบ้าน ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาพูดมากกว่า
ภาษาในบทเรียน เราใช้คำอุทานธรรมดา เช่น 嗯 (ēn เอิน), 哦 (ó อ๋อ), 喝(hē เฮอ),

哎呀 (ài ya ไอ้ยา), และ 天哪 (tiān na เทียนน่ะ) เพื่อทำให้ภาษาเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น







เครดิตหนังสือ สวัสดีหนีห่าว 2

1/25/2557

กินเกี๊ยวกันในวันตรุษจีน

饺子 jiăozi เจี่ยวจึ = เกี๊ยว
 

 
春节吃饺子 chūn jié chī jiăozi กินเกี๊ยวกันในวันตรุษจีน
饺子是深受中国汉族人民喜爱的传统特色食品, 也是每年春节必吃的年节食品.


เกี๊ยวเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมของชาวจีนอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้เลยในวันตรุษจีน ด้วยเหตุที่ไส้ที่ใส่เข้าไปในเกี๊ยวนั้นมีหลายหลายอย่าง มีวิธีการทำที่หลากหลาย ทั้งทอดและต้ม ทำให้ปัจจุบันเกี๊ยวเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ในวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าอาหารจีนที่มีรสชาติอร่อยแค่ไหน ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้กับเกี๊ยวที่ชาวจีนรับประทานกันในคืนข้ามปี เพราะคำว่า เกี๊ยว ในภาษาจีน ซึ่งก็คือคำว่า饺子 jiăozi เจี่ยวจึ ไปพ้องเสียงกับคำว่า 交 jiāo (新旧交替) ซึ่งหมายถึงการนำสิ่งเก่ามาแลกสิ่งใหม่ โดยทั้งหมดนี้มีความนัยว่า ปีเก่ากำลังจะผ่านพ้นไปและปีใหม่กำลังจะมาถึงนั่นเอง

 
นอกจากนี้คำว่า jiāo จากคำว่า 饺子 ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า 交 (相交团员) ที่หมายถึงความรักใคร่กลมเกลียว ถ้าหากว่าเราและคนในครอบครัวรับประทานเกี๊ยว ครอบครัวของเราก็จะรักใคร่กลมเกลียว และสามัคคีกันค่ะ

เกี๊ยวมีลักษณะเหมือนเงินก้อนในสมัยโบราณของคนจีน และการห่อเกี๊ยวก็เปรียบเสมือนการห่อเอาความโชคดีเข้าไว้ และการกินเกี๊ยวก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ หมายถึง การมีชีวิตที่ร่ำรวย โดยสรุปแล้ว การรับประทานเกี๊ยวในวันตรุษจีน ก็คือการก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาปีใหม่ และยังเป็นวิธีการขอพรไปพร้อมๆ กันด้วยนะคะ



 图片来自: www.baidu.com

9/25/2556

ฉางเอ๋อร์คนใหม่จะไปดวงจันทร์แล้ว

嫦娥一号 卫星探月ฉางเอ๋อร์คนใหม่จะไปดวงจันทร์แล้ว


嫦娥Cháng è ฉางเอ๋อร์
一号Yī hào หมายเลข 1
卫星 Wèi xīng ดาวเทียม
探月 Tàn Yuè สำรวจดวงจันทร์

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2000 นิตยสาร "การบินและอวกาศ" ของจีน ได้ตีพิมพ์ข่าว "ภายในสิบปีนี้ประเทศจีนจะดำเนินการวางแผนการสำรวจดวงจันทร์" โดยเฉพาะการดำเนินการสถานีอวกาศ การวิจัย การพัฒนาห้องปฏิบัติการ และการทดสอบเพื่อให้บรรลุการสำรวจดวงจันทร์ตามเป้าหมาย ในปี 2020

เดือนเมษายนปี 2007 ประเทศจีนก็ประสบความสำเร็จกับขั้นตอนที่หนึ่งโดยสามารถส่ง “ดาวเทียมฉางเอ๋อร์หมายเลข 1” ขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้เป็นครั้งแรก จากข่าวยังระบุว่า ภายในปี 2009 ถึง 2015 ประเทศจีนจะดำเนินการขั้นที่สอง โดยจะทำการขึ้นไปลาดตระเวนสำรวจดวงจันทร์

ปี 2012 ได้มีการยิงอุปกรณ์ตรวจจับ และกล้องสำรวจ และในปี 2017 จีนวางแผนจะดำเนินการขั้นตอนที่สาม โดยจะทำการยิงอุปกรณ์ ตรวจจับเพื่อเก็บตัวอย่าง ดิน หิน บนดวงจันทร์ และจะส่งตัวอย่างทั้งหมดกลับมายังโลก และจะทำการยิงหุ่นยนต์อวกาศโดยที่หุ่นยนต์จะทำหน้าที่บทบาทสำคัญในการซ่อมแซมดาวเทียมตลอดจนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศ และกิจกรรมอื่นๆ ที่สำคัญ มีรายงานว่า นับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการนำหุ่นยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นสูงขึ้นไปบนดวงจันทร์


เครดิตข้อมูลจาก บอร์ดสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

8/13/2556

丝绸之路 เส้นทางสายไหม






ไหม (丝绸 sīchóu ซือโฉว) เป็นเส้นใยโปรตีนธรรมชาติ มีความเหนียว ทนทานและเป็นมันวาว สามารถนำไปใช้ทอเป็นผืนผ้า
เริ่มต้นจากการกรอรังไหม เสร็จแล้วจึงขึงเส้นยืนขัดกับเส้นพุ่งที่สอดตามขวางใส่เครื่องทอ เมื่อสานขัดกันก็จะเกิดลวดลายต่างๆ ทอเป็นผืนตามขั้นตอน หลังจากนั้นก็จะได้ผ้าไหมที่สวยงาม
ในสมัยฉินและฮั่น การค้าขายผ้าไหมก่อกำเนิด “เส้นทางสายไหม” (丝绸之路sīchóuzhīlù ซือโฉวจือลู่) อันเลื่องชื่อขึ้นจากเมืองโบราณฉางอันจนไปไกลสุดถึงทวีปยุโรป





 คำอธิบายหมายเลขจากภาพ
 1 ทาชเคนท์ (塔什干) เมืองหลวงประเทศอุชเบกิสถาน
 2 ฉางอัน (长安) ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ประเทศจีน
 3 อักซู (阿克苏) เมืองในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
 4 ซาร์ม์คันด์ (撒马尔罕) เมืองเก่าแก่ ประเทศอุชเบกิสถาน
 5 มาแชด (马什哈德) ชื่อเมือง ประเทศอิหร่าน
 6 เตหะราน (德黑兰) เมืองหลวง ประเทศอิหร่าน
 7 ทาซคูร์ฮัน (塔什库尔干) ตำบลในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
 8 อิสลามาบัด (伊斯兰) เมืองหลวงประเทศ ปากีสถาน
 9 นิวเดลี (德里) เมืองหลวง ประเทศอินเดีย
10 เหอเถียน (和田) เมืองในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
 




สาระน่ารู้คัดจากหนังสือการ์ตูน
 "อ๋อ! อย่างนี้นี่เอง ฉลาดรู้ทุกเรื่องของเมืองจีน"
 สำนักพิมพ์ THONGKASEM


7/30/2556

ต้นกำเนิดของสุรา

จีนเป็นต้นกำเนิดของสุรา และเป็นแหล่งที่มาทางวัฒนธรรมของสุราด้วย เป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่เริ่มมีการหมักสุรา จากตำนานกล่าวกันว่า “ตู้คัง (杜康)” แห่งราชวงศ์เซี่ยเป็นผู้คิดค้นสุราขึ้น ครั้งหนึ่งโจโฉได้แต่งบทกวีไว้ว่า “จะคลายเศร้าโศกาอย่างไร หากชีวิตไร้ซึ่งตู้คัง” 
 




สุรามีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในจีน คือเหล้าเหลืองและเหล้าขาว เป็นเหล้าที่หมักจากธัญพืช อย่างสาโทนี่ก็เป็นเหล้าที่หมักมาจากข้าว รสชาติทั้งเปรี้ยวทั้งหวาน ดื่มดีนักแหล่ะ

เหล้าขาว 白水杜康

เหล้าขาว 白水杜康


ตัวอักษรเจี่ยกู่เหวิน คำว่า “สุรา” หรือ “เหล้า” (酒 jiŭ จิ่ว) ในสมัยราชวงศ์ซางก็มีอักษรคำนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าเหล้ามีประวัติอันยาวนาน สมัยก่อน มีเพียงแต่พระราชาและชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีสิทธิ์ดื่มสุรา สุราถือเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชนิดหนึ่ง (ในกรณีดื่มในปริมาณน้อยเท่านั้น) ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตสูบฉีดได้ดี เสี่ยงกับโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยลง แต่ถ้าดื่มมากไปก็มีอันตรายสูง อาจส่งผลร้ายต่อตับ ม้าม และสมองได้





มีเรื่องเล่ากล่าวถึงในสมัยราชวงศ์ซาง ผู้คนนิยมดื่มเหล้ามาก โดยเฉพาะชนชั้นปกครองในยุคหลังๆ พวกเขาดื่มเหล้ากันตลอด ไม่สนใจบ้านเมือง แม้แต่ซางโจ้วอ๋อง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง ที่ทรงสร้างลำธารเหล้าลำเนาเนื้อ (เอาเหล้ามาใส่ในสระน้ำ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ก็ติดเหล้าเมามายจนเสียเมือง จึงมีคำพูดว่า “ราชวงศ์ซางสิ้น เพราะฤทธิ์สุรา” ดังนั้น ในสมัยราชวงศ์โจว จึงได้มีบัญญัติห้ามปรามการดื่มสุราโดยเด็ดขาด
ในประเทศจีนนั้น ประวัติศาสตร์ของสุรามีมายาวนานกว่าชาเสียอีก ไหเหล้าที่ถูกขุดพบในปีคริสตศักราช 1986 ที่มณฑลเหอหนานนั้น เป็นเหล้าโบราณที่มีอายุมากกว่าสามพันปีเลยทีเดียว
เหล้าที่ขึ้นชื่อมีอยู่มากมายในประเทศจีน ได้แก่ เหมาไถ (茅台), อู่เหลียงเย่ (五粮液), เฝินจิ่ว (汾酒),จู๋เย่ชิง (竹叶青), หลูโจวเหล่าเจี้ยว (泸州老窖),กู๋จิ่งก้งจิ่ว (古井贡酒),เจียฟ่านจิ่ว (加饭酒), ไวน์องุ่นจางอวี้ (张裕葡萄酒)และไวน์องุ่นฉางเฉิงเชียนหง (长城千红葡萄酒), เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเหล้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งสิ้น
ในปีคริสตศักราช 1915 ในงานมหกรรมสินค้านานาชาติปานามา ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีนได้นำเหล้าเหมาไถไปออกแสดงเพื่อร่วมรับการตัดสิน แต่ด้วยรูปร่างภาชนะที่เรียบง่าย บรรจุภัณฑ์สีเหลืองนั้นดูไม่สวยงาม ไม่สะดุดตาสะดุดใจ ทำให้ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร หนำซ้ำยังถูกเยาะหยันและเกือบถูกคัดออก คณะผู้แทนชาวจีนโกรธมาก แต่ในขณะที่กำลังเกิดการโต้แย้งถกเถียงอยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเหล้าของจีนท่านหนึ่งได้เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส เจตนาทำขวดเหล้าเหมาไถตกแตกไหลนองพื้น จนในห้องประชุมเกิดกลิ่นหอมอย่างน่าอัศจรรย์ขึ้น ทำให้ตัวแทนของแต่ละประเทศรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างมาก ในที่สุดเหล้าเหมาไถก็ได้รางวัลเหรียญทอง และติดสินให้เป็น “1 ใน 3 เหล้ากลั่นที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก”  อันได้แก่ เหล้าเหมาไถ วิสกี้ของสก็อตแลนด์ และบรั่นดีของฝรั่งเศส
 
สาระน่ารู้คัดจากหนังสือการ์ตูน
อ๋อ! อย่างนี้นี่เอง ฉลาดรู้ทุกเรื่องของเมืองจีน
สำนักพิมพ์ THONGKASEM

7/24/2556

ขั้นตอนประเพณีการแต่งงานของจีน


ประเพณีแต่งงาน
ขนบธรรมเนียมประเพณีแต่งงานของชาวจีน มีขั้นตอนต่อไปนี้

1. “จับคู่” (合婚 เหอฮวุน) ก่อนอื่นต้องดูวันเดือนปีเกิดของชายหญิงว่าสมพงษ์กันหรือไม่



2. “วางของหมั้นชุดเล็ก” (放小定ฟ่างเสี่ยวติ้ง) คือมอบของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทั่วไปมักให้กำไลทอง และเครื่องนุ่งห่ม



3. “ทำความรู้จัก” (相亲เซียงชิน) จะนัดหมายให้ทั้งสองได้พบกัน



4. “ดูฤกษ์ยาม” (选择日子 เสวี่ยนเจ๋อยรื่อจึ) จะต้องเลือกฤกษ์งามยามดีมีมงคลเพื่อจัดพิธี



5. “วางของหมั้นชุดใหญ่” (放大定 ฟ่างต้าติ้ง) เรียกได้ว่าเป็นสินสอดด้วย ต้องจัดพิธีการที่ยิ่งใหญ่ ส่วนของหมั้นเป็นสิ่งของประเภทใกล้เคียงกับของหมั้นชุดเล็ก



6. “สู่ขอ” (亲迎ชินอิ๋ง) เจ้าบ่าวจัดขบวนแห่ไปสู่ขอด้วยตนเอง


7. “จุดประทัด” (放鞭炮 ฟ่างเปียนพ่าว) ชาวจีนมีความเชื่อกันว่า เสียงประทัดยิ่งดังมากเท่าไร ชีวิตก็จะยิ่งดีเท่านั้น



8. “ไหว้ฟ้าดิน” (拜天地 ไป้เทียนตี้) ถือเป็นพิธีการสำคัญในการแต่งงาน เพื่อแสดงถึงความเคารพที่คู่สามีภรรยามีให้กับบรรพบุรุษและบิดามารดา




9. “แลกแก้วสุรา” (交杯酒 เจียวเปยจิ่ว) คู่บ่าวสาวจะคล้องแขนแล้วดื่มสุรามงคลพร้อมกัน



10. “ปลุกห้องเจ้าสาว” (闹洞房 น่าวต้งฝาง) นี่เป็นวิธีการหนึ่งที่แขกในงานกระทำต่อคู่บ่าวสาวอย่างสนุกสนานครื้นเครง ทั้งนี้หากต่างพื้นที่ ต่างประเพณี การปลุกห้องเจ้าสาวก็จะแตกต่างไปด้วย


11. “คารวะบรรพบุรุษ” (分大小 เฟินต้าเสี่ยว) คู่บ่าวสาวถ้าไม่ไหว้บรรพบุรุษไม่ถือว่าแต่งงานแล้ว



12. “เยี่ยมบ้านเจ้าสาว” (会亲 ฮุ่ยชิน) หลังจากแต่งงานแล้ว 3 วัน 7 วัน หรือ 9 วันตามความเชื่อของแต่ละครอบครัว ลูกเขยจะต้องกลับไปเยี่ยมบ้านฝ่ายหญิงด้วยกัน




หลังจากแต่งงานแล้ว หรือหลังไหว้บรรพบุรุษและญาติพี่น้องในวันตรุษจีน ฝ่ายชายจะต้อง “รวมญาติ” คือการเชิญญาติพี่น้องฝ่ายหญิงมาร่วมรับประทานอาหารกับญาติฝ่ายชายที่บ้านฝ่ายชาย ซึ่งถือเป็นมารยาทสำคัญที่ฝ่ายชายพึงมี


สาระน่ารู้คัดจากหนังสือการ์ตูน
อ๋อ! อย่างนี้นี่เอง ฉลาดรู้ทุกเรื่องของเมืองจีน
สำนักพิมพ์ THONGKASEM
图片来自 :www.baidu.tupian.com

建议 โพสต์แนะนำ

专业英语-汉语 1 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 1 [ศัพท์จิตวิทยา]

专业英语-汉语 1 ภาษาอังกฤษ-จีนแบบมืออาชีพ 1 Psychology:n. 心理学 จิตวิทยา mind:n 心理;心灵,精神 จิตใจ, จิต soul:n. 灵魂 วิญญาณ, จิตวิญญาณ, ดวงวิญญาณ beha...