7/01/2556

วรรณยุกต์ 声调

วรรณยุกต์ 声调



1. เสียงวรรณยุกต์ 声调
เสียงวรรณยุกต์ คือการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงสูงต่ำในการออกเสียง
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลางมีทั้งหมด 4 เสียง ได้แก่

เสียงหนึ่ง “ ”  阴平 คล้ายกับเสียงสามัญในภาษาไทย แต่ออกเสียงสูงกว่าและลากเสียงยาวกว่าเล็กน้อย
เสียงสอง “ ̸ ”  阳平 คล้ายกับเสียงจัตวาในภาษาไทย แต่จะลากเสียงขึ้นสูงกว่าเล็กน้อย
เสียงสาม “ ˅ ” 上声 เป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ต้องกดเสียงลงต่ำก่อน แล้วจึงลากเสียงให้สูงขึ้นตอนหลัง ในช่วงที่กดเสียงลงต่ำ จะออกเสียงใกล้เคียงกับ เสียงเอก ในภาษาไทย
เสียงสี่ “ \ ” 去声 คล้ายกับเสียงโทในภาษาไทย แต่จะออกเสียงสั้น และจบเสียงเร็วกว่า


เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่นี้ จะวางไว้บนเสียงสระหลักของพยางค์
พยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน จะแสดงถึงความหมายที่ต่างกันไปด้วย เช่น

mā 妈  ออกเสียง “มา”  แปลว่า แม่
má 麻 ออกเสียง “ม๋า” แปลว่า ปอ, ป่าน
mă 马 ออกเสียง “หม่า” แปลว่า ม้า
mà 骂 ออกเสียง “ม่า”  แปลว่า ด่า


2. เสียงเบา 轻声
เสียงเบา หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาต่อจากพยางค์ก่อนหน้านั้นอย่างกระชั้นชิด มีลักษณะการออกเสียงสั้นและเบากว่าเสียงทั่วไป เสียงเบาที่อยู่หลังวรรณยุกต์เสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสาม จะออกเสียงต่ำต่อเนื่องจากเสียงวรรณยุกต์ก่อนหน้า  ส่วนเสียงเบาที่อยู่หลังวรรณยุกต์เสียงสาม จะออกเสียงสูงขึ้นจากระดับเสียงของพยางค์หน้าเล็กน้อย เช่น


妈妈 māma มาหม่ะ  แม่
爷爷 yéye   เย๋เย      ปู่
奶奶 năinai ไหน่ไน  ย่า
爸爸 bàba  ป้าปะ     พ่อ






ขอขอบพระคุณ
แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานชุดสัมผัสภาษาจีน
体验汉语基础教程1 [泰语版]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

建议 โพสต์แนะนำ

สำนวนจีน VS สำนวนไทย Part 5 [W]

สำนวนจีนที่ขึ้นต้นด้วยพินอิน w  挖墙脚  [wāqiángjiǎo]  โค่นล้ม (比喻拆台) 外强中干  [wàiqiángzhōnggān]  แข็งนอกอ่อนใน/ภายนอกดูแข็งแรงแท้จริงแล้วอ่อนแอ ...